เกี่ยวกับ สปป.ลาว



ข้อมูลประเทศลาว
ธงชาติและสัญลักษณ์ ธงชาติ เป็นธงที่ใช้มาตั้งแต่ 2 ธันวาคม 2518 มีแถบสีแดง น้ำเงินเข้ม แดงตามแนวนอน มีรูปพระจันทร์สีขาวอยู่ตรงกลางแถบสีน้ำเงิน



สัญลักษณ์เป็นรูปวงกลม
ข้างล่างเป็นรูปเฟืองจักรกล และแถบผ้าสีแดง
ที่บันทึกด้วยอักษรว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว" ปีกทั้งสองข้างประดับด้วยรวงข้าวที่
ผูกผ้าแถบสีแดงที่บันทึกตัวอักษรว่า "สันติภาพ
เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร" ตรงกลางระหว่างรวงข้าวทั้งสองเป็นรูปพระธาตุหลวง
ถนน นาข้าว ป่าไม้ และเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า

ประเทศลาว มีชื่อเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)
(Lao People's Democratic Republic ) ตั้งอยู่ในตอนกลางของอินโดจีนระหว่างละติจูต
14-23 องศา และระหว่างลองกิจูต 100-108 องศา
ประธานประเทศ คือ ฯพณฯ จูมมะลี ไชยยะสอน
นายกรัฐมนตรี คือ ฯพณฯ บัวสอน บุบผาวัน
เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (ASEAN) ในปี ค.ศ. 1997.
วันชาติลาว คือวันที่ 2 ธันวาคม ซึ่งสถาปนาเมื่อ ค.ศ..1975
รัฐธรรมนูญ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2534
สปป. ลาวมีพื้นที่ 236,800 ตร.กม.(ส่วนที่เป็นน้ำ: 6,000 ตร.กม. พื้นดิน: 230,800 ตร.กม.)
ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขา และที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ
ทิศเหนือ ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ทิศใต้ ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรไทย
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ประเทศพม่า
ความยาวของประเทศแต่เหนือถึงใต้ประมาณ 1,700 กม. ชายแดนของลาว ยาว 4,500 กม.
(มีชายแดนติดพม่า 230 กม. กัมพูชา 492 กม. จีน 416 กม. ไทย 1,730 กม,
เวียดนาม 1,957 กม.)

ช่วงที่ยาวที่สุดของประเทศ 1,000 กิโลเมตร
ช่วงที่กว้างที่สุดของประเทศ 500 กิโลเมตร
ช่วงที่แคบที่สุดของประเทศ 150 กิโลเมตร

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) 1 กำแพงนคร และ 1 เขตพิเศษ แขวงต่าง ๆ คือ

1. (Phongsali) พงสาลี 2. (Louangnamtha) หลวงน้ำทา
3. (Bokeo) บ่อแก้ว 4. (Louangphabang) หลวงพระบาง
5. (Oudomxai) อุดมไซ 6. (Houaphan) หัวพัน
7. (Xaignabouli) ไซยะบุลี 8. (Xiangkhoang) เซียงขวาง
9. (Vientiane) เวียงจันทน์ 10. (Bolikhamxai) บอลิคำไซ
11. (Khammouan) คำม่วน 12. (Savannakhet ) สะหวันนะเขต
13. (Salavan) สาละวัน 14. (Xekong) เซกอง
15. (Champasak) จำปาสัก 16. (Attapu) อัตตะปือ
1 กำแพงนคร คือ กำแพงนครเวียงจันทน์ และ 1 เขตพิเศษ คือ เขตพิเศษไซสมบูรณ์ (Xaisomboun)
เมืองหลวง คือ กำแพงนครเวียงจันทน์ มีประชากรประมาณ 400,000 คน ในสมัยอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์ มีชื่อว่า จันทบุรีกรุงศรีสัตนาคนาหุต
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช สถาปนาให้เป็นนครหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในปี ค.ศ.1563 (พ.ศ. 2106) พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
การจัดตั้งและการบริหาร หลายหมู่บ้านรวมกัน เป็น เมือง (อำเภอ) หลายเมืองรวมกัน เป็น แขวง (จังหวัด)
นายบ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็น ผู้บริหารของบ้าน คณะกรรมการปกครองเมือง เป็น ผู้บริหารเมือง
คณะกรรมการปกครองแขวง เป็น ผู้บริหารแขวง คณะกรรมการปกครองกำแพงนคร เป็นผู้บริหารกำแพงนคร (เทศมนตรี)
ระดับศูนย์กลาง มีกระทรวง คณะกรรมการ และสถาบัน
เวลามาตรฐาน เวลามาตรฐานของลาว จะเร็วกว่ามาตรฐานกรีนิช ประเทศอังกฤษ 7 ชั่วโมง
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นที่ราบและภูเขา โดยพื้นราบจะอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก
ส่วนด้านตะวันออกเป็นแนวภูเขายาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ จากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ สปป.ลาว มีแม่น้ำที่เกิดจากแนวภูเขาด้านทิศตะวันออกเป็นจำนวนมาก แม่น้ำเหล่านี้ จะไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพร ลงมาสู่พื้นที่ราบทางทิศตะวันตก และไหลลงแม่น้ำโขงในที่สุด
ภูมิอากาศ ส.ป.ป.ลาว ตั้งอยู่ในเขตที่มีอากาศอบอุ่น อากาศจะแตกต่างกันในที่ลุ่ม ที่ราบสูง
และเขตภูเขาบางแห่งอุณหภูมิลดลงใกล้ศูนย์เซลเซียส
ในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 องศาเซลเซียส
ในระหว่างเดือนเมษายน และพฤษภาคม เวียงจันทน์อุณหภูมิต่ำสุด 19 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม
ส่วนพื้นที่ภูเขาสูงอุณหภูมิต่ำลงถึง 14-15 องศาเซลเซียสในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืนต่ำสุดจนกระทั่ง ถึงจุด เยือกแข็ง



ปริมาณน้ำฝนตลอดปีในบริเวณภาคใต้มากกว่า 3,000 มิลลิเมตร และบริเวณภาคเหนือประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตร ฤดู มี 2 ฤดู คือ ฤดูหนาว และ ฤดูร้อน แต่ตามพุทธศาสนาจะมี 3 ฤดู คือ
- ฤดูหนาว เริ่มจากเดือน 12 แรม 1 ค่ำ ถึงวันเพ็ญเดือน 4
- ฤดูร้อน เริ่มจากเดือน 4 แรม 1 ค่ำ ถึงวันเพ็ญเดือน 8
- ฤดูฝน เริ่มจากเดือน 9 แรม 1 ค่ำ ถึงวันเพ็ญเดือน 12
พื้นที่ส่วนต่ำที่สุดคือ: แม่น้ำโขง (Mekong River) 70 เมตร ส่วนที่สูงที่สุดคือ:ภูเบี้ย (Phou Bia) 2,820 เมตร (สูงกว่าดอยอินทนนท์ของไทย 700 ฟุต)
แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้มีความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตรและยังเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทยด้วย
ปริมาณฝนตก เฉลี่ย 1,500 - 2,000 มิลลิเมตร ความชื้น 70-85 %
ภาษา ใช้ภาษาลาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับภาษาไทย
หน่วยเงิน คือ กีบ อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 250 กีบ (8 ก.พ. 46)
ประชากร 5,777,180 คน (ค.ศ. 2002 )
อายุ 0-14 ปี 42.5% (ชาย 1,233,659; หญิง 1,219,872)
อายุ 15-64 ปี 54.2% (ชาย 1,543,246; หญิง 1,591,419)
อายุ 65 ปีขึ้นไป 3.3% (ชาย 86,375; หญิง 102,609) (ค.ศ.2002 )
ประกอบด้วย ลาวลุ่ม (lowland) 68%, ลาวเทิง (upland) 22%,
ลาวสูง (highland) ได้แก่ Hmong ("Meo") และเย้า Yao (Mien) 9% มีชาวเวียดนาม และจีน 1%
ประชากร ประชากรของลาวประกอบด้วย 3 ชนชาติใหญ่
1. ลาวลุ่ม หมายถึงชนชาติลาวที่อาศัยอยู่ในที่ลุ่ม เช่น ลาวลุ่ม ไทเหนือ ไทดำ ไทขาว ผู้ไท ไทพวน ไทลื้อ ฯลฯ
2. ลาวเทิง หมายถึงลาวที่อาศัยอยู่ที่ราบสูง ประกอบด้วย ข่าแจะ ละแนด แกนปานา สีดา บิด สามหาง ดำ หอก ผู้เทิงไฟ เขลา ปันลุ แซ กะแสง ส่วย ตะโอย
ละแว ละเวน อาลัก กะตาง เทิงน้ำ เทิงบก เทิงโคก อินทรี ยาเหียน กายัก ชะนุ ตาเลี่ยง ฯลฯ
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวภูเขา ประกอบด้วยชนชาติเผ่าม้ง และอื่นๆ เช่น ม้งลาย ม้งขาว ม้งดำ ย้าว โซโล ฮ้อ รุนี มูเซอ ผู้น้อย กุ่ย ก่อ แลนแตน ฯลฯ ลาวสูง
ทั้งสามชนชาติใช้ภาษาลาวเป็นภาษากลาง และ ได้อยู่ร่วมชีวิตฉันท์พี่น้องในอาณาเขตเดียวกันมาเป็นพันปี
หมายเหตุ คำว่า "ไท" และ "ผู้" ในภาษาลาวหมายถึง "คน" หรือ "ชาว" อาทิเช่น ไทเหนือ ไทใต้ ไทเวียงจันทน์ ไทหนองคาย หรือ ชาวเหนือ ชาวใต้
ชาวเวียงจันทน์ ชาวหนองคาย ฯลฯ ส่วนคำว่า "ผู้" เป็นคำศัพท์เก่าแก่ที่มีความหมายเดียวกันกับ "ไท" เช่น ผู้ลาว ผู้ลื้อ ผู้ม้ง ผู้ย้าว ได้แก่ คนลาว คนลื้อ
คนม้ง คนย้าว นั่นเอง
ศาสนา พุทธ 65.4 %
การสื่อสาร จำนวนโทรศัพท์พื้นฐาน 25,000 (1997)
จำนวนโทรศัพท์มือถือ 4,915 (1997)
จำนวนสถานีวิทยุ AM 12, FM 1, shortwave 4 (1998)
จำนวนเครื่องรับวิทยุ 730,000 (1997)
จำนวนสถานีโทรทัศน์ 4 (1999)
จำนวนเครื่องรับโทรทัศน์ 52,000 (1997)
จำนวนผู้ให้บริการอินเทอร์เนต 1 (2000)
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนต 6,000 (2001)


No comments:

Post a Comment