จะลงทุนอะไร ดี ใน สปป.ลาว ?


โอกาสทางธุรกิจในประเทศลาว(สปป.ลาว)โอกาสใหม่ ของ นักธุรกิจไทย

+ผมยินดีตอบคำถามทุกคำถาม เกี่ยวก้บประเทศลาว ..ถ้าสิ่งที่ผมรู้จากการทำธุรกิจในประเทศลาว(สปป.ลาว)จะมีประโยชน์กับคนไทย ว่ามีธุรกิจอะไรในประเทศลาว(สปป.ลาว)ที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะ คำถามที่เกี่ยวกับช่องทางการ
นำสินค้าไปวางขายปลีก จัดจำหน่ายในประเทศลาว 
การจัดส่งสินค้าไปลาว 
การหาคู่ค้าและร่วมลงทุนกับ นักธุรกิจลาว หรือ การจะฝากสินค้าขายในลาว

ว่าสิ่งใดที่ต้องระวัง..
สิ่งใดก็ต้องควรพิจารณา คำถามเหล่านี้ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในเว็บไซต์ใดๆ 

ต้องถามเป็นกรณีๆไป
คำตอบบางคำตอบ ก็ไม่สามารถที่จะเขียนลงบนโลกโซเชียลได้

ผมพร้อมให้คุณถาม ถามแล้วรับรองได้ว่าคุณจะไม่เสียเปรียบใครในการไปทำธุรกิจในลาว ไม่ต้องไปถูกใครหลอก
ทั้งทั้งที่เรื่องนั้น ไม่ควรจะถูกหลอก..

ข้อมูลที่ผมมีเป็นข้อมูลธรรมดามากสำหรับผม แต่อาจจะเป็นประโยชน์มาก
ลดโอกาสการที่จะสูญเสียเงินทอง โดยความไม่รู้ได้มาก
สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ใดๆเกี่ยวกับตลาดในประเทศลาว ในการที่จะก้าวเข้าไปหาโอกาสการค้า

ถามว่าทำไมถึงต้องมาตอบคำถามให้คนอื่น
ซึ่งเสีเวลาส่วนตัว
เหตุผลง่ายๆก็คือ ทุกคนเกิดมาก็ต้องทำประโยชน์ให้กับคนอื่น 
เดี๋ยวผมก็แก่แล้ว ต้องทำตัวให้เป็นประโยชน์ครับ 
เเค่คำพูดที่ผมพูดไว้  อาจทำให้ใครบางคนไม่เสียหาย เสียเงินไปเปล่าๆ จากความไม่รู้
หากได้รับคำขอบคุณจากมิตรที่ไม่เคยรู้จักกัน ก็เป็นสิ่งที่เป็นกุศลต่อกันมากแล้วครับ

+คุณอาจจะอยากลงทุนในการลงทุนเช่า-ซื้อที่ดินในลาว ชึ่งราคาที่ดิน ราคาตึก ในเวียงจันทร์ ราคาก็ยังไม่สูงมาก สร้างหอพัก-อพาร์ทเมนท์-บ้าน-ตึก-รีสอร์ท-โรงเเรม

+ถ้าคุณอยาก เริ่มชีวิตใหม่ ไปอยู่ในลาว เเละลงทุนสำหรับธุรกิจเล็กๆ ลงทุน 200,000--500,000 บาท
ถูกกฏหมาย ขยายตัวได้เร็ว มีคู่เเข่งไม่มาก

+หรือ ถ้าคุณเป็นเจ้าของสินค้า ต้องการส่งสินค้าไปทดลองตลาดประเทศลาว(สปป.ลาว)ว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จ หรือไม่?สินค้าไทยหลายชนิดถูกใจชาวลาว แต่นักธุรกิจไทยส่วนใหญ่ยังมองข้ามโอกาสทางธุรกิจในประเทศลาวซึ่งอยู่ใกล้ๆเรา ที่มีโอกาส ต่อยอดไปเวียดนาม จีน
ได้ง่าย

+ชาวลาวชอบเเละมั่นใจสินค้าไทย มากกว่าสินค้าจีน,เวียตนามซึ่งถ้าเริ่มทดลองตลาดประเทศลาว จะมีโอกาสขยายตลาดไปยังเวียดนาม ได้ง่ายกว่าเข้าไปในเวียดนามโดยตรง มีหลายเหตุผลที่นักธุรกิจไทยไม่เคยทราบ หรือ นึกไม่ถึงมาก่อน..

+ทำอย่างไร? เพื่อลดความเสี่ยง ก่อนเริ่มขยายธุรกิจ อย่างจริงจัง..
คุณรู้หรือไม่ว่า การทำโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าในลาว มีข้อจำกัดทางกฎหมายมากมาย โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ที่ถูกรัฐบาลสปป.ลาว
ควบคุมอย่างเข้มงวด ปัญหาการสต็อกเเละการกระจายสินค้าสู่ตัวเเทนเเละลูกค้้าในลาว เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงในลาว ราคาสูงกว่าในไทย ดังนั้นต้นทุนค่าขนส่ง การกระจายสินค้าในลาว จึงสูงกว่าในไทยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสินค้าของคุณเพิ่งเปิดตลาดในลาว ยอดขายยังไม่มาก ต้นทุนค่าขนส่ง การกระจายสินค้าในลาว การสร้างตัวเเทนจำหน่ายรายใหญ่ รายย่อย ยิ่งจะสูงขึ้น เเล้วคุณจะจัดการอุปสรรคทางการตลาดนี้อย่างไร โดยใช้งบประมาณให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด ? ทำอย่างไรดี ?

+จากการที่ผมคลุกคลีทำุธุรกิจในลาวหลายปี ผมรู้ว่า มีวิธีมากมายที่มีประสิทธิภาพมากพอ ที่จะทำให้สินค้าของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดย ไม่ทำให้งบการตลาดของคุณบานปลาย ไม่ต้องใช้จ่ายเงินสร้างทีมงานใหญ่โตในลาว เเละไม่จำเป็นต้องจ่ายหลายสิบล้านบาทกับ ค่าโฆษณานาทีละ2-4เเสนบาท ทาง free TV 3579 ให้คนดูกดรีโมท หลบหลีกหนีไม่ดูโฆษณาของสินค้าของคุณ
กว่าสินค้าคุณจะเป็นที่รู้จักของตลาดในลาว ก็ใช้เงินไปมากมาย ซึ่งก็ไม่มีใครการันตีได้ว่า สินค้าของคุณจะความสำเร็จตามเเผนงาน ตามเงินค่าการตลาดที่ได้ลงทุนไป..

+คุณอาจไม่คาดคิด มาก่อนว่า การปฎิบัติตัววิธีคิดบางอย่าง ด้วยความเคยชินปกติธรรมดาเเบบในไทย อาจจะนำอุปสรรค เเละปัญหาใหญ่มาสู่ธุรกิจคุณในลาว ได้ !

+ผมยินดีตอบคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับ สปป.ลาว ที่คุณอาจไม่กล้าถามใคร..

เเต่..ถ้าคุณมีเงินงบประมาณ มากเหลืิอเฟือ พร้อมจะทุ่มจ่าย ไม่อั้นในการทำตลาดสิ่งที่ผมรู้ ก็คงไม่จำเป็นครับ..

ทำไมการลงทุนใน สปป.ลาว ถึงน่าสนใจ?

+สปป.ลาว เป็นเพื่อนบ้าน ที่ สงบสื่อสารกับไทยโดยไม่ต้องใช้ล่ามแปลมีโอกาส ดีๆอีก มาก ใน สปป.ลาว ที่คนไทย ไม่เคยรู้ทั้งที่เราอยู่ใกล้เพียงแค่ข้ามแม่น้ำโขง ..

+สปป.ลาว เเม้ตลาด จะเล็ก เเต่สปป.ลาว ก็ตั้งอยู่ในท่ามกลาง 'ทะเลคน' ของ จีน1300ล้านคน เวียตนาม82ล้านคน ไทย65ล้านคน กัมพูชา14ล้านคน ตั้งอยู่ ตรงกลางระหว่างประเทศเหล่านี้ ..ที่สำคัญ สปป.ลาวส่งสินค้าไปประเทศต่างๆก็มักจะได้รับ GSP หรือสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น อัตราภาษีที่ต่ำกว่าปกติ หรือ ไม่มีภาษีเลย

+มีอีกมากเกี่ยวกับประเทศลาว(สปป.ลาว) ที่คนไทยควรรู้ เเล้ว เราคนไทยจะพบว่าคนไทยเเทบจะไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับประเทศลาว(สปป.ลาว)ทั้งที่ อยู่ใกล้กันเเค่ข้ามเเม่น้ำโขง

+เงิน 1 - 5 ล้าน อาจทำธุรกิจในไทย ได้ไม่มากนัก คู่เเข่งก็มีมากมาย เเละโอกาสที่จะล้มเหลวก็สูงมาก
เเต่ ต่างจากในลาวครับ ..ย้งมีโอกาสอีกมาก สำหรับคนไทยที่ตั้งใจ จะทำธุรกิจอย่างจริงจัง

+ถ้าสิ่ง ที่ผมพอจะรู้ใน ลาว จะเป็นประโยชน์ กับคน ไทย ผมยินดี บอกเล่าให้รู้ ดีกว่าปล่อยให้คนจีน เวียตนาม ชาติอื่นๆไปไขว่คว้าโอกาสธุรกิจดีๆ เหล่านั้นไปก่อน คุณจะเเปลกใจ ที่คนหนุ่มชาวจีน เวียตนาม อายุน้อย ร่ำรวยในประเทศลาว โดยที่คนไทย ที่อยู่ใกล้เเค่ข้าม เเม่น้ำโขงเเละคุยกับโดยไม่ใช้ล่าม ได้เเต่มอง..

"โอกาสทางธุรกิจในประเทศลาว(สปป.ลาว)โอกาสใหม่ ของ นักธุรกิจไทย ใกล้บ้านเรา "
---------------------------------------------------------------
** เนื่องจาก ผมตั้งใจจะทำประโยชน์ให้กับประเทศไทยของเรา จึงตั้งใจให้คำปรึกษากับ เพื่อนคนไทยโดยไม่คิดมูลค่า เท่าที่จะมีปัญญาทำได้ อาจจะไม่สะดวกรับสายทุกสาย ดังนั้น ถ้าสนใจจริงๆ
เเอด LINE หรือส่ง e mail มา เเล้วค่อยคุย ในรายละเอียด ในขั้นตอนต่อไปครับ

หากสนใจข้อมูล โอกาส ทำธุรกิจ กับ สปป ลาว จาก ประสพการณ์จริงของผม  
(ไม่ใช่ ในรูปเเบบงานวิชาการ)  ดูที่นี่

Face book เเฟนเพจ : ลงทุน ในลาว  
FB : @LAOCONSULT

กติกา ในการขอคำปรึกษา   โอกาสทำธุรกิจใน สปป.ลาว
หากคุณต้องการถามคำถาม.. ลงทุนในลาว เจาะตลาดลาว  เเบบไม่หลงทาง ? -

ต้องขอให้ ทำตามกติกา 1,2,3,4,5,6,7,8
เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาในการถามข้อมูล
ความเป็นมาของแต่ละคนประหยัดเวลาทั้งผู้ถามและผู้ตอบ
ให้ข้อมูลเบื้องต้นของคุณ
เเบบสรุป คร่าวๆในเรื่อง
1.ชื่อ &  ปัจจุบันเปิดกิจการ หรือ อาศัยอยู่ที่ไหนจังหวัดอะไร
( ที่ถามจังหวัด ในบางกรณีบางคนอยู่ใกล้ชายแดนลาว พื้นที่ใดก็จะได้แนะนำให้ สำหรับพื้นที่นั้นที่ใกล้เคียง )
ถ้าไลน์คุณไม่มีรูปของตัวคุณ
ทักมาครั้งเเรกให้ส่งรูปมาด้วย
ผมใช้รูปจริง/คุณผู้ถาม ก็ต้องใช้รูปจริง
2.ธุรกิจ สินค้า ที่คุณสนใจ จะเจาะตลาดลาว
มีบางกรณีผู้ถามมีสินค้าอยู่แล้วต้องการขยายตลาด
แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ถามยังไม่มีสินค้าเลย
แต่ต้องการที่จะขายสินค้าลูกค้าในลาวในอนาคต ผมก็จะแนะนำให้ในแต่ละ คนไป ตามความเหมาะสม
3.ทำไมถึงมีความสนใจช่องทางธุรกิจในลาว
มองตลาด..ประเทศลาว อย่างไร?
- คำถามนี้จะวัดถึงความเข้าใจและมุมมองในด้านธุรกิจของผู้ถาม
เพราะบางครั้งผู้ถามก็เป็นเพียงแค่ผู้ที่เริ่มสนใจในตลาดลาว เพิ่งเริ่มนับหนึ่ง
ผมจะเเนะนำอีกเเบบหนึ่ง
บางคนก็มีความรู้ความเชี่ยวชาญรู้จริงในด้านธุรกิจที่ทำอยู่แล้ว ในไทย
เพียงแต่ขาดข้อมูลของประเทศลาวเท่านั้น
ผมจะได้ตอบคำถามให้ตรงกับความต้องการให้เหมาะสม กับแต่ละคน
4.ประสพการณ์ ทำงาน หรือธุรกิจที่ทำอยู่ ในปัจจุบัน  ค้าขายอะไร อย่างไรบ้าง?
จะได้รู้พื้นฐานของแต่ละบุคคลที่ถาม
บางคนเชี่ยวชาญ ในธุรกิจในสาขาที่ตัวเองทำอยู่ เเต่ต้องการขยายตลาดไปลาว
บางคนมือใหม่ในการทำธุรกิจ
จะได้ให้คำแนะนำให้เหมาะสมกับเเต่ละคน .
5.เคยมาลาวที่ไหนบ้าง บ่อยนานเเค่ไหน
มาทำอะไร ?
ที่ต้องตอบคำนี้พวกผมจะได้ประเมินได้ว่ารู้และเข้าใจคุ้นเคยเกี่ยวกับ สปป.ลาว
มากน้อยแค่ไหน มีเครือข่ายอยู่ในลาวมาก่อนหรือไม่
6.ข้อมูลอื่น ๆเกี่ยวกับตัวคุณ
เช่น  **ความชำนาญด้านอื่นๆที่คุณมี**
เคยมีหลายกรณีที่ผู้ถาม มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 
แต่เขา ไม่รู้มาก่อนว่า สิ่งที่เขาเชี่ยวชาญ
เป็นสิ่งที่มีความต้องการ มาก
ใน ระบบเศรษฐกิจ เเละสังคม ประเทศลาว
คุณบอกข้อนี้ผมก็จะได้ให้คำแนะนำชี้ช่องทางโอกาส ทางธุรกิจในลาวให้เพิ่มเติม
ความเชี่ยวชาญบางอย่าง ในไทยมีเยอะแต่ที่ลาวยังขาด
7.รุปสินค้าของคุณ  .ถ้ามีก็ส่งมา.
8.คำถามสำคัญ **
คุณลงมือทำอะไรไปแล้วบ้างในตลาดประเทศลาว กิจกรรมทางการตลาดหรือสำรวจตลาดในลาว ..?
ข้อนี้สำคัญ
ถ้าคุณลงมือไปแล้ว เเต่ขาดข้อมูลที่ถูกต้องหรือต้องการคำเเนะนำช่วยเหลือใดๆเพิ่ม
ถ้าผมความช่วยได้
ผมก็จะพร้อมช่วย
สิ่งที่ผมรู้เก็บไว้กับตัวก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร
หากสิ่งที่ผมรู้ ถ้าบอกไปแล้วเกิดประโยชน์กับคนอื่น
ได้ทำประโยชน์ให้ สังคมไทย ให้คนไทย
ก็คือความสุขอย่างหนึ่งครับ
*ให้ทำตามกติกาให้ครบ1,2,3,4,5,6,7,8 
จึงจะได้คุยกันเเบบไม่อึดอัด สะดวกรวดเร็ว ไม่เสียเวลาทั้ง 2ฝ่าย

ส่งข้อมูล1,2,3,4,5,6,7,8 มาที่
Line ID : CONNEXTHAILAND

*เเละ*
เพื่อเผยแพร่ข้อมูล เกี่ยวกับประเทศลาว
ให้ผู้ที่สนใจ คนไทยคนอื่น
ขอความร่วมมือ ให้ผู้ถามคำถาม
สนับสนุนกิจกรรมเพจลงทุนในลาว
ด้วยการ  *กดไลค์ คอมเม้นท์ หรือ แชร์เพจ*
เพจ FB  :  ลงทุนในลาว@LAOCONSULT

ผมช่วยตอบให้เป็นเเนวทาง""เบื้องต้น""
ด้วยจิตอาสาช่วยคนไทยร่วมชาติ  จากประสพการณ์จริงจากการทำธุรกิจ
กับคู่ค้าใน สปป.ลาว มากว่า 16 ปี
เป็นเจ้าของเพจ :  ลงทุนในลาว@Laoconsult
ให้คำปรึกษาด้วยจิตอาสา กับคนไทย
มา กว่า 9 ปี

คำตอบเบื้องต้นจะทำให้คุณได้รู้ ในสิ่งที่จำเป็น..  ที่ควรรู้ ในการเริ่มต้นเข้าสู่ ตลาดใน สปป.ลาว
หากคุณรับฟังและนำไปปฏิบัติ  ถ้าคุณคิดจะก้าวขา มาทำธุรกิจในลาวจริงๆ
รับรองได้ว่าจะช่วยให้คุณ ประหยัดเงิน เเละค่าเวลา ได้เกิน 100,000บาท ++เเน่ๆ
ไม่ต้องเสียเงิน โดยเปล่าประโยชน์จากการ ไปลองผิดลองถูกเองโดยที่ไม่ทราบข้อมูล ที่ถูกต้อง
----
การให้คำปรึกษาเป็นแนวทางในเบื้องต้น
ส่วนนี้ **ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ **  ช่วยกันคนละมือ ครับ
ขอขอบคุณ
============
ผู้ที่สนใจ :ใช้บริการให้คำปรึกษาVIP
( บริการ VIP มีค่าบริการ)
เป็นการให้คำปรึกษา*VIP เเบบส่วนตัว*
เฉพาะคน เฉพาะธุรกิจ
ลดความเสี่ยง เลี่ยงความเสียหาย " 
เหมาะกับ ผู้ที่ต้องการข้อมูลลงลึกในรายละเอียดตรงๆ
เรื่องใดที่ควรเลี่ยงเรื่องใดที่ควรทำ เรื่องใดที่ต้องระวัง เรื่องใดที่ ควรใส่ใจ
บางคำเเนะนำ เหมาะที่จะคุยกันตรงหน้าเท่านั้น ไม่เหมาะที่จะเขียนในสาธารณะ
---
ผู้สนใจใช้บริการให้คำปรึกษา VIP
ให้สอบถามมาต่างหาก
ทางไลน์ Line : CONNEXTHAILAND
=======
ด้วยจิตคารวะ
Chai -Chaisit
Line : CONNEXTHAILAND
Google :  @LAOCONSULT
*ลาวอยู่ใกล้ไม่ต้องใช้ล่ามเเปล *
ลงทุน ในลาว ประตูสู่จีนเเละเวียดนาม


        ------------------------------------


สะพานแห่งที่ ๓ ถนนหมายเลข ๑๒
จันทร์ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

เส้นทางท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่กำลังจะบูมตูมตามในอนาคตอันใกล้นี้ ก็คือ ถนนสายนครกว่างโจว มณฑลกว่างตง – กรุงเทพ ราชอาณาจักรไทย

เขียนรับใช้ไปอย่างนี้ บางคนอาจจะว่า เอ็งบ้าแล้วเรอะ ขับรถจากนครกว่างโจวมากรุงเทพฯ นี่นะ? นิติภูมิขอเรียนว่า อ้า “ใช่ครับ” ตอนนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ขับรถยนต์จากนครกว่างโจว เข้าไปที่เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง อุจจาระปัสสาวะที่นครหนานหนิง แล้วก็ขับรถลงทางใต้ ไปเวียดนาม ทะลุลาว เข้าเส้นทางถนนหมายเลข ๑๒ เหยียบแผ่นดินไทยที่จังหวัดนครพนม และบึ่งรถตรงลงมายังกรุงเทพฯ

ขณะ ที่ผู้อ่านท่านท่านที่เคารพกำลังนั่งอ่าน นสพ.ไทยรัฐ ฉบับนี้ นิติภูมิของท่านก็คงกำลังนั่งรถยนต์พ้นบนถนนหมายเลข ๑๒ ของลาว เข้ามาสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม วิ่งตามถนนนไปทางเหนือ เพื่อจะไปสูดกลิ่นอายชายแดนจีน ที่เขตการปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

เชื่อ นิติภูมิเถิด ปีหน้าเป็นต้นไป การท่องเที่ยวบนถนนสายนี้จะดังระเบิดเถิดเทิง รถยนต์ที่ขนส่งโดยใช้ถนนหมายเลข ๑๒ ก็จะมีจำนวนพุ่งกระฉูดส่งตูดจัมโบ้ เพราะสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ นครพนม-คำม่วน จะสำเร็จเสร็จเรียบร้อย

โครงการ ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ นี่ เริ่มโดย ดร.ทักษิณ ชินวัตร ท่านแจ้งต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไทย-เวียดนาม เมื่อ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ และ ครม. ไทยได้อนุมัติให้กรมทางหลวงศึกษาความเหมาะสมโดยใช้งบกลาง พ.ศ. ๒๕๔๗ ถ้าผมจำไม่ผิด ตอนนั้น กรมทางหลวงใช้งบศึกษาไปถึง ๒๐ ล้านบาท

พ.ศ. ๒๕๕๒ นิติภูมิเดินทางไปดูการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ อย่างละเอียด ก้มเงย ชอนตาไปทุกตรอกซอกมุม ผมยังบรรยายในที่ประชุมของข้าราชการและนักธุรกิจเลยว่า อ้า น่าจะเปิดใช้สะพานแห่งนี้เป็นครั้งแรกในฤกษ์ ๑๑/๑๑/๑๑ หมายถึงเปิดใช้สะพานครั้งแรกในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๑๑

นิติ ภูมิสนทนาทางโทรศัพท์กับนายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผวจ. นครพนมคนใหม่ ท่านกรุณาให้ข้อมูลว่า สะพานจะสร้างเสร็จก่อนกำหนดถึง ๓ เดือน

ต้อง ถือว่า เป็นโชคดีของจังหวัดนครพนม ที่ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณคิดริเริ่มก่อร่างสร้างสะพานไว้ให้ แถมในปีนี้ คนนครพนมยังได้นายเริงศักดิ์ไปเป็นผู้ว่าราชการ ก่อนนครพนม นายเริงศักดิ์เป็นผู้ว่าราชการกาญจนบุรี ซึ่งผมบังเอิญเป็นที่ปรึกษานายก อบจ.กาญจนบุรี ในห้วงช่วงนั้นอยู่พอดี จึงได้มีโอกาสร่วมงานกับท่าน

๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ นายเริงศักดิ์ นิติภูมิ ฯลฯ เดินทางด้วยรถยนต์จากนครย่างกุ้งไปกรุงเหน่ปยี่ตอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า ก่อนกลับมาเมืองไทย เรายังเช่าเครื่องบินนำคณะไปเจรจากับผู้ว่าฯ เมืองทวายของพม่า เรื่องการจะสร้างถนนสายใหม่จากเมืองทวายไปยังตัวเมืองกาญจนบุรี

ผม เป็นคนหนึ่งซึ่งมั่นใจในวิสัยทัศน์ของผู้ว่าฯ เริงศักดิ์ เมื่อบวกกับการเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ + เส้นทางหมายเลข ๑๒ + ความยิ่งใหญ่ของเศรษฐกิจมณฑลกว่างตงและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง + ศักยภาพเศรษฐกิจญวน + ทรัพยากรธรรมชาติอันสมบูรณ์ในลาว ผมเชื่อว่า การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวฯ ในจังหวัดนครพนม และตามเมืองน้อยใหญ่ที่อยู่ในเส้นทางกรุงเทพฯ – นครพนม -ฮานอย-หนานหนิง- กว่างโจว จะพลอยบูมตูมตามไปด้วย

นิติ ภูมิขับรถจากกรุงเทพฯ ไปนครพนมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และเข้าลาวในวันเสาร์ การเดินทางไปในเส้นทางสายนี้ครั้งนี้ ผมต้องทำให้เสร็จภายใน ๑๐ วัน เพราะอังคารวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ รศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม จัดโครงการ ASEAN SME Regional Gateway to GMS และกรุณาชวนผมไปพูดรับใช้ผู้ประกอบการชาวนครพนมและสกลนครที่โรงแรมนครพนมริเวอร์วิว ๑๑.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. เรื่อง ‘การค้าการลงทุนในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม’ และ ๑๓.๓๐-๑๕.๐๐ น. เรื่อง ‘การค้าการลงทุนในสาธารณรัฐประชาชนจีน’

ก่อน หน้านั้น ๙.๐๐-๑๐.๔๕ น. นายขันทะวง ดาลาวง เลขาธิการสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวจะกรุณามาพูดถึงการดำเนินการลง ทุนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

หลายท่านถามผมว่า อ้า ลาวมีรถไฟหรือยัง? ผมบอกว่า ยังไม่มี แต่กำลังจะมี โดยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ลาวเริ่มก่อสร้างเครือข่ายรถไฟเชื่อมลาวเข้ากับไทยและหยุนหนาน เริ่มจากนครคุนหมิง ไปจังหวัดเชียงราย โดยผ่านเชียงรุ่ง เมืองลา หลวงพระบาง หลวงน้ำทา และห้วยไซ ที่จริงการก่อสร้างทางรถไฟของลาวน่าจะเสร็จไวกว่านี้ ถ้าในตอนแรกลาวไม่หลงไปไว้เนื้อเชื่อใจให้บริษัทของไทยก่อสร้าง

บริษัท แปซิฟิก ทรานสปอร์เตชัน จำกัด บริษัทในเครือสหวิริยาของไทย ได้สัมปทานก่อสร้าง และเดินรถไฟในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยาวทั้งหมด ๑,๕๐๐ กิโลเมตร โดยเซ็นสัมปทานไปเมื่อ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ แต่จนกระทั่งปลาย พ.ศ. ๒๕๔๒ บริษัทลูกของสหวิริยาผู้ได้สัมปทานก็ไม่ได้กระดิกพลิกตัวก่อสร้างตามสัญญา รัฐบาลลาวจึงยกเลิกสัมทาน จากนั้นก็ต้องเปิดหาผู้รับสัมปทานรายใหม่

ผม เดินทางซอนไซไปตามตรอกซอกซอนของลาว เขมร พม่า และญวน เดินทางมาตั้งแต่บางแห่งยังไม่ได้เปิดประเทศ ได้ยินเรื่องอภินิหารและฤทธ์ของบริษัทขนาดใหญ่ของไทยที่ไปแสดงกับทั้งรัฐบาล และเอกชนของประเทศพวกนี้มาเยอะ

ทำ ให้ความเชื่อถือของเราลดลดน้อยถอยลงไป บั้นปลายท้ายต่อมา ประเทศพวกนี้จึงต้องไปพึ่งจีน สิงคโปร์ และไปพึ่งอีกหลายประเทศ อย่างน่าเสียดาย

นิติภูมิ นวรัตน์
[8/11/2553]

++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขนสินค้าและผู้คนจากไทยไปจีน (๑)

อังคาร ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ผู้อ่านท่านที่เคารพ นิติภูมิกับลูกสาวคนแรก นางสาวเมธาวี นวรัตน์ เช่ารถเก๋งมิตซูบิชิจากเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อสำรวจทางหลวงหมายเลข ๑๒ ซึ่งเชื่อมระหว่างเมืองท่าแขกของลาว ไปเข้าจังหวัดก้วงบิ้ญของเวียดนาม ที่ผมสนใจเพราะถนนหลวงสายนี้ผ่านลาวสั้นที่สุด และเป็นเส้นทางที่จะขนสินค้าและผู้คนจากไทยไปลาว เข้าเวียดนาม ไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนที่สั้นที่สุด ทว่า ที่ผ่านมา เราศึกษากันแต่ถนนหนทางในกระดาษ จึงไม่ค่อยได้ทราบสภาพตามความเป็นจริงเท่าที่ควร

ผมสนใจการเชื่อมต่อระหว่างไทยกับจีนมาตั้งแต่อดีต และก็ทดลองนั่งรถ ขับรถ ไปมาตามเส้นทางต่างๆ ไม่ว่าจะ R3B จากเชียงรายไปพม่า เข้ามณฑลหยุนหนาน และเส้นทาง R3A จากเชียงรายไปลาว เข้ามณฑลหยุนหนาน

ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ ผมนั่งรถยนต์บนเส้นทางหมายเลข ๙ จากแขวงสะหวันนะเขต ไปจนถึงชายแดนของลาวที่ด่านแดนสวรรค์ และเข้าเวียดนามที่ด่านลาวบาว จังหวัดก้วงตริ (บางท่านออกเสียงว่ากวางจิ) ไปกลับหลายครั้ง แต่ก็พบว่า ถนนหมายเลข ๙ ของลาวเหมาะที่จะไปเวียดนามทางตอนกลางเท่านั้น

ข้ามจังหวัดมุกดาหารไป เมื่อเจอจังหวัดสะหวันนะเขตของลาว ก็เป็นต้นสายของถนนหมายเลข ๙ บนถนนสายนี้มีเมืองเศรษฐกิจของลาวที่สำคัญมากมายหลายแห่ง เช่น เมืองอุทุมพอน (ชื่อเล่นคือเมืองเซโน) เมืองอาดสะพังทอง (ดงเห็น) เมืองพลานไซ (พลาน) เมืองพิน เมืองเซโปน และด่านแดนสวรรค์ของลาว พ้นจากด่านของลาว ก็เข้าด่านของเวียดนามที่ด่านลาวบาว อำเภอเฮืองหัว จังหวัดก้วงตริ

ถนนหมายเลข ๙ เป็นเส้นทางการคมนาคมสายแรกที่เชื่อมลาวและเวียดนาม ฝรั่งเศสเคยใช้ถนนสายนี้ลำเลียงทหารจากเวียดนามมาลาว ตอนหลังทหารญวนก็ใช้ถนนสายนี้เพื่อช่วยลาวรบกับอเมริกา เมื่อสงครามสงบจบลง ด่านแดนสวรรค์ของลาวก็กลายเป็นด่านสากลแห่งแรกที่เปิดให้ผู้คนทุกสัญชาติเดินทางไปมาระหว่างลาวกับเวียดนามได้ ตอนนี้ก็มีผู้คนและสินค้าผ่านด่านแดนสวรรค์ของลาว เข้าไปที่ด่านลาวบาวของเวียดนามมากที่สุด เพราะมีเมืองเศรษฐกิจของลาวบนถนนสายนี้หลายแห่ง ทางฝั่งเวียดนามก็มีจังหวัดสำคัญอย่าง ก้วงตริ ดานัง และเทื่อเทียน-เว้ (ชื่อเต็มของจังหวัดเว้) ผู้อ่านท่านก็คงจะเคยทราบนะครับ ว่าเว้เป็นเมืองมรดกโลก ที่ยังรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและโบราณสถานอยู่ครบ

ระยะทางจากมุกดาหารไปด่านแดนสวรรค์ก็คือ ๒๕๐ กม. จากชายแดนลาว-เวียดนามไปเว้ก็เพียง ๑๖๐ กม. จากมุกดาหารไปเพียง ๔๑๐ กม. ก็ถึงเมืองเว้ สำหรับผมนิติภูมิแล้ว อีสานเป็นภาคที่มีอนาคตที่สุดของไทย ถ้าพัฒนาให้ดี จะเป็นภาคที่มีศักยภาพมาก เอามุกดาหารเพียงจังหวัดเดียว ถ้าทำอย่างถูกต้อง ความมั่งคั่งจากจีน เวียดนาม และลาวก็ไหลทะลักเข้ามามหาศาล

ความใฝ่ฝันปรารถนาของผมก็คือ อยากให้ผู้บริหารฝ่ายไทยใช้เส้นทางสายนี้จนชำนาญ ไม่ใช่ไปอย่างผู้ว่าราชการ หรืออย่างรัฐมนตรี ถ้าลองเดินทางอย่างคนธรรมดาสามัญกันบ้าง ท่านก็จะได้ทราบจิตวิญญาณของเส้นทาง เมื่อทราบข้อมูลทางกายภาพ + สัมผัสจิตวิญญาณ ท่านก็จะทะลุปรุโปร่งว่าจะใช้ศักยภาพของเส้นทางสายนี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เมื่อเวียดนามและลาวเข้ามาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเชียนอย่างสมบูรณ์ ๑๐๐% เต็มแล้ว

อีกเส้นทางหนึ่งซึ่งเราชาวไทยควรมีความรู้ความเข้าใจ หลายท่านบอกว่า อ้า ก็คือหมายเลข ๘ นี่แหละ จะเป็นเส้นทางที่นำผลไม้ไทยไปสู่จังหวัดต่างๆ ของเวียดนาม และส่งต่อไปยังเมืองจีน แต่ก่อนง่อนชะไร นิติภูมิก็คิดอย่างท่านเหมือนกัน แต่ปัจจุบันทุกวันนี้ ตั้งแต่เส้นทางหมายเลข ๑๒ เปิดใช้ ขอเรียนว่า ท่านลืมเรื่องเส้นทางหมายเลข ๘ ไปได้เลย

นิติภูมิและลูกๆ โดยเฉพาะบุตรชายคนที่ ๒ นายคุณนิติ นวรัตน์ เราเคยใช้เส้นทางหมายเลข ๘ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาจนถึงปัจจุบัน จากนครพนม ข้ามไปเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ขับรถยนต์ไปจนถึงเมืองหลักซาว (เดิมหลักซาวห่างชายแดนเวียดนาม ๒๐ กม. ปัจจุบันหลังจากมีการปรับเขตแดน ห่างมากขึ้นเป็น ๓๘ กม.) ใช้ระยะทางถึง ๒๓๘ กม.

เมื่อเข้าด่านน้ำพาว ของแขวงบอลิคำไซ ท่านก็เตรียมเข้าเวียดนามที่ด่านกาวแตรว อำเภอเฮืองเซิน จังหวัดฮ่าติญ หากคิดระยะทางจากริมแม่น้ำโขงไปจนถึงเมืองวิงห์ของเวียดนามต้องใช้ระยะทางถึง ๓๓๘ กม.

ผมและลูกสาวกำลังนั่งเขียนต้นฉบับรับใช้ท่านวันนี้ที่ร้านอาหารอันต่าย ของนายต่าย ริมถนนหลักหมายเลข ๑ อำเภอเมือง จังหวัดนิญบิ้ญ ที่นี่มีอภิพญามหาโคตรยุงเยอะจริงๆ ในร้านอาหารอร่อย ยังปล่อยให้มียุงมากขนาดแทบจะหามเราไปทิ้งทะเลได้ รอให้ ๑ มกราคม ๒๕๕๘ เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสมบูรณ์ ผมเชื่อว่าร้านอร่อย แต่ด้อยคุณภาพการบริการอย่างนี้ จะแพ้ร้านอาหารของคนไทยที่ไปปักหลักขายในเมืองต่างๆ ของเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลญวนก็ห้ามเราไม่ได้

พรุ่งนี้ นิติภูมิขอกลับมารับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพกันต่อครับ
นิติภูมิ นวรัตน์
[9/11/2553]
http://www.nitipoom.com/th/article1.asp?idOpenSky=3642&ipagenum=
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จากไทย ไปลาว เข้าเวียดนาม ข้ามไปจีน (๒)

พุธ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

“โลกนี้ยิ่งดู ยิ่งดูยอกย้อน เปรียบเหมือนละคร ถึงบทเมื่อตอนเร้าใจ บทบาทลีลาแตกต่างกันไป ถึงสูงเพียงใด ต่างจบลงไปเหมือนกัน” ผมแหกปากร้องเพลง ‘โลกนี้คือละคร’ ของครูไพบูลย์ บุตรขัน ขณะรถเคลื่อนจากจังหวัดนิญบิ้ลไปยังกรุงฮานอย นางสาวเมธาวี ลูกสาวขอร้องว่า หยุดหอนก่อนพ่อ เอ๊ย หยุดร้องก่อน และก็ป้อนคำถามว่า อ้า พ่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ คนไทยมาเปิดร้านขายอาหารแข่งกับร้านนายต่ายซึ่งเป็นชาวเวียดนามได้จริงหรือ?

ผมตอบว่า ‘จริงซี’ เพราะเวียดนามก็เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนเหมือนกัน ก่อนอื่นหนูต้องเข้าใจซะก่อน ว่าอาเซียนมี ๑๐ ประเทศ แบ่งออกเป็น กลุ่มประเทศอาเซียนเก่า ที่เป็นสมาชิกมาแต่เดิม คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ส่วนอีกกลุ่มเป็นอาเซียนใหม่ เราเรียกว่ากลุ่ม CLMV มีกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม

ทั้ง ๑๐ ประเทศนี่ ตกลงปลงใจที่จะใช้คติของช่างตัดผม คือ หลายหัวดีกว่าหัวเดียว ทุกชาติเชื่อว่า เพียงร้านเดียวเป็นตลาดไม่ได้ ไม้ต้นเดียวเป็นป่าไม่ได้ ทุกคนเข้าใจว่า ถ้าอยู่เพียงประเทศเดียว ตลาดจะเล็ก กระจอกงอกง่อย สู้อยู่รวมกันเป็น ๑๐ ประเทศดีกว่า มีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็น ๖๐๐ ล้านคน นั่นหมายถึง ๙% ของประชากรของโลกเลยทีเดียว

อยู่โดดเดี่ยวเดียวดายกลายเป็นประเทศหัวเดียวกระเทียมลีบ ไม่มีอำนาจต่อรองกับชาติรัฐอื่นที่ใหญ่กว่า จีดีพีก็นิดเดียว ทว่า ถ้ารวมกันได้ ๑๐ ประเทศ จีดีพีจะมีขนาดใหญ่โตมโหฬารถึง ๑.๕ ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โอ้โฮ นั่นมัน ๒% ของจีดีพีโลกเชียวนะ

เราชาวอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศต้องการเป็นตลาดและฐานผลิตเดียวกัน เราจึงพร้อมใจกันเปิดตลาดเสรีทั้ง ๑.การค้าสินค้า ๒.การค้าบริการ ๓.การลงทุน ๔.การเคลื่อนย้ายเงินทุน ๕.การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ๖.อาหาร/เกษตร/ป่าไม้ และ ๗.สาขาที่เร่งรัด

กิจการร้านอาหารของนายต่ายในจังหวัดนิญบิ้ญที่เราเพิ่งกินอาหารของแกมานี่ ก็เข้าข่ายเปิดเสรีสาขาที่เร่งรัดซึ่งมีอยู่ ๑๒ สาขา จะบุกชาติอาเซียนอีก ๙ ประเทศให้ไม่เสียเปรียบและเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น คนไทยจำเป็นต้องเข้าใจ PIS และ non-PIS

Non-PIS คือ สินค้าและบริการที่ไม่เร่งรัดการเปิดเสรี

ส่วน PIS เป็นสินค้าและบริการที่เร่งรัดการเปิดเสรี มีทั้งหมด ๑๒ สาขา ก็พวกผลิตภัณฑ์เกษตร ประมง ยานยนต์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ไม้ อิเล็กทรอกนิกส์ สุขภาพ การบิน โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ พอถึง พ.ศ.๒๕๕๘ เราทั้ง ๑๐ ประเทศนี่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปิดเสรีอาเซียนอย่างสมบูรณ์ได้ เราจึงจำเป็นต้องรู้ ระหว่างขับรถตระเวนเวียดนามในครั้งนี้ พ่อจะค่อยๆ ทยอยเล่าให้ลูกเข้าใจ

ผู้อ่านท่านครับ เมื่อวานผมเล่ารับใช้ค้างไว้ถึงเส้นทางจากลาวเข้าเวียดนามหมายเลข ๘ และ ๙ วันนี้ขอเล่าถึงเส้นทางหมายเลข ๑๒ ซึ่งผมเรียนไปแล้วว่า เป็นเส้นทางในฝันที่จะขนสินค้าและผู้คน ‘จากไทย ไปลาว เข้าเวียดนาม ข้ามไปจีน’ ซึ่งผมและลูกสาวกำลังขับรถตระเวนไปบนถนนสายนี้ตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางอยู่ในขณะนี้นี่แหละครับ

๑๑/๑๑/๑๑ คือวันที่ ๑๑ เดือน ๑๑ ค.ศ. ๒๐๑๑ เราก็จะเปิดใช้สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ ๓ ที่เชื่อมจังหวัดนครพนมกับแขวงคำม่วน ท่านขับรถจากเมืองท่าแขกของแขวงคำม่วน วิ่งจากริมแม่น้ำโขง ตรงไปเป็นไม้บรรทัดมาจนถึงหมู่บ้านนาเพ้า เมืองมะหาไซ แขวงคำม่วน ใช้ระยะทางทั้งหมดเพียง ๑๔๖ กม. เมื่อพ้นด่านนาเพ้าของลาว ก็เข้าเขตเวียดนามที่อำเภอจาลอ จังหวัดก้วงบิ้ญ (กว่างบินห์) ทางการจึงตั้งชื่อด่านตรงนี้ว่า ด่านจาลอ

ถนนสายนี้เหมาะสำหรับขนส่งเพราะมีเส้นทางบนภูเขาสูงน้อย ตลอดเส้นทาง ผมและลูกสาวจึงเจอรถทุกคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่วิ่งไปมาอยู่เป็นระยะ

จากชายแดนเวียดนามวิ่งไปจนถึงเส้นทางหมายเลข ๑ (ที่ทอดยาวเหนือใต้ เชื่อมชายแดนจีน/เวียดนาม - ชายแดนกัมพูชา/เวียดนาม) ยาว ๒๕๔ กม. สรุปแล้ว จากริมแม่น้ำโขงฝั่งลาว จะเอาสินค้าไปจนถึงถนนหมายเลข ๑ ของเวียดนาม ระยะทางทั้งหมดก็คือ ๔๐๐ กม. ขอเรียนว่า ถนนหมายเลข ๑๒ ได้เปรียบ เพราะมีช่วงอยู่ในลาวสั้นที่สุด ๑๔๖ กม.

ถนนที่จะต่อไปกรุงฮานอย มี ๒ เส้น คือ หมายเลข ๑ และเส้นโฮจิมินห์เทรล ข้อเสียของถนนหมายเลข ๑ ก็คือ มีเมืองและผู้คนเยอะแยะ แต่ถนนแคบมาก เข้าทำนอง ’โลกกว้าง ทางแคบ’ รถติด วิ่งได้เพียง ๓๐-๔๐ กม./ชม. ส่วนเส้นโฮจิมินห์เทรล ไม่มีรถ แต่เปลี่ยว สองข้างทางเป็นไร่นาเกษตรกร มีแต่ทุ่งนา สวนกาแฟ พริกไทย ยางพารา ฯลฯ ชาวนาเอาข้าวมากองบนถนนให้รถที่วิ่งไปมานวดข้าวแทนควาย รถเสียเมื่อใด ไม่มีอู่ซ่อม หาปั๊มน้ำมันยากมากถึงมากที่สุดในโลก เสี่ยงหลงทาง เพราะป้ายจราจรหรือป้ายอะไรยังไม่มี เอ้อ ยังมีอะไรอีกเยอะ พรุ่งนี้ นิติภูมิกลับมารับใช้ต่อก็แล้วกันครับ คืนนี้ นิทราราตรีสวัสดิ์ ลาไปก่อนครับ.
นิติภูมิ นวรัตน์
[10/11/2553]
http://www.nitipoom.com/th/article1.asp?idOpenSky=3643&ipagenum=
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

จากไทย ไปลาว เข้าเวียดนาม ข้ามไปจีน (๓)

พฤหัสบดี ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

ผมปรารถนาจะกลับไปให้ถึงไทยในวันเสาร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เพราะประสงค์จะไปร่วมงานสวดอภิธรรม ฯพณฯ สมัคร สุนทรเวช ในเย็นวันเสาร์ ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วันอาทิตย์รุ่งขึ้น ๑๔ พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารไปพระราชทานเพลิงศพ ฯพณฯ สมัคร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

สมัยที่ยังมีชีวิต ฯพณฯ สมัคร สุนทรเวช ไปงานของผมทุกครั้งที่เรียนเชิญ ไม่ว่าจะที่วัดซึ้งล่าง จังหวัดจันทบุรี หรือที่วัดดงกลาง จังหวัดตราด แม้แต่งานศพของคุณแม่ของผม ท่านก็เดินทางไปคารวะหลายวาระ ผมจัดบรรยายอะไรที่ไหน ท่านก็กรุณาไปพูดให้

ขณะนี้เป็นเวลาตี ๔ นิติภูมิกระสับกระส่ายนอนไม่หลับเพราะความหนาว ผมพักในโรงแรมเล็กๆ ในจังหวัดหลั่งซอน (บางสำเนียงเรียกลานเซิน) ที่อยู่ตอนเหนือสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในห้วงช่วง ๒ วันนี้ ผมปักหลังอยู่ที่จังหวัดหลั่งซอน มาศึกษาหาข้อมูลเรื่องด่านสำคัญ ๒ ด่าน ที่ขนส่งคนและสินค้าเข้าไปในสาธารณรัฐประชาชนจีน

‘หู่งี่กวน’ เป็นด่านให้คนผ่านเข้าไปในจีน ทว่าสินค้าและรถยนต์ข้ามไปไม่ได้ มีสถานที่พักรถ ภัตตาคาร ร้านค้า และโรงแรม เป็นด่านที่ทันสมัยมาก มีรถไฟฟ้าแบบรถสนามกอล์ฟ และรถโดยสาร คอยบริการขนส่งผู้คนจากสถานีไปที่ด่านซึ่งอยู่ไกลไปไม่ถึง ๕ กม.

ห่างจาก ‘ด่านคน’ ไปประมาณ ๒๐ กม. เป็น ‘ด่านเตินแทน’ ด่านนี้สำหรับรถยนต์ผ่าน ใครจะขับรถยนต์ หรือขนส่งสินค้าผ่านเวียดนามไปจีน ก็ต้องใช้ด่านนี้ บริเวณด่านของฝั่งเวียดนามเป็นตลาดสินค้าขนาดใหญ่ ถามไถ่ไปเถิดครับ เป็นสินค้าจีนซะ ๙๙% คนขายส่วนใหญ่ก็เป็นชาวจีนที่พอพูดภาษาเหวียตได้บ้างนิดหน่อย

ผมและลูกสาวใช้เวลาอยู่ที่ด่านเตินแทน นานหน่อย เพราะสนใจในระบบโลจิสติกส์ของเวียดนามและจีน รถบรรทุกคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่วิ่งกวักไกว่ไปมาเหมือนกับว่าบริเวณนี้เป็นท่าเรือใหญ่ ทั้งที่ไม่ใช่ แถวนี้มีแต่ภูเขาเลากา ถนนก็เป็นเลนเดียวให้รถวิ่งสวนกัน บางห้วงช่วงขณะรถบรรทุกติดวินาศสันตะโร มีหลายช่วง ที่เบื้องหน้าในระยะสายตาของผม ทางการเวียดนามกำลังทะลายภูเขา เพื่อเอามาขยายทำถนนขนส่งให้กว้างขึ้น

๑ มกราคม ๒๕๕๘ เราทั้ง ๑๐ ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC อย่างสมบูรณ์ หมายถึงเรายินยอมพร้อมใจที่จะเป็น ‘ตลาดและฐานการผิตเดียวกัน’ โดยเราจะแบ่งงานกันทำตามภูมิศาสตร์และความชำนาญของตน อย่างเรื่องโลจิสติกส์และการขนส่ง เรายกให้เวียดนาม เรื่องการท่องเที่ยวและการบินเป็นของไทย เรื่องสุขภาพเป็นของสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ให้ไปมุ่งมั่นทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนพม่าให้ไปชำนาญการในเรื่องผลิตภัณฑ์เกษตรและประมง มาเลเซียให้ยึดเรื่องผลิตภัณฑ์ยางและสิ่งทอเป็นหลัก และอินโดนีเซียให้ไปสนใจเน้นเรื่องผลิตภัณฑ์ไม้และยานยนต์

ปีนี้ทั้งปี ผมออกไปบรรยายเรื่อง AEC ให้ลูกค้าของธนาคาร TMB ในหลายจังหวัด ครั้งต่อไป วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ก็ต้องไปพูดที่เชียงใหม่อีกแล้ว ผู้ร่วมบรรยายอีกท่านหนึ่งก็คือ ผศ.ดร.อัทธิ์ พิศาลวานิช ดร. อัทธิ์กับผมมีความเห็นตรงกันว่า หลังจาก ๑ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางบกของคนไทยจะล้มหายตายไปไม่น้อยกว่า ๓๐% ด้านธุรกิจ ‘ขนส่งทางบก’ เราอาจได้เปรียบเวียดนามอยู่บ้าง แต่เราเสียเปรียบมาเลเซีย ส่วนด้าน ‘โลจิสติกส์’ ไทยก็ไม่มีทางสู้สิงคโปร์ได้

การศึกษาเส้นทางการเดินทางจากไทย ไปลาว เข้าเวียดนาม ข้ามไปจีน ที่ผมกับลูกสาวกำลังทำดำเนินการอยู่นี่ ผมทำกันอย่างยาจก นอนโรงแรมคืนละ ๔๐๐ บาท/๓ คน/ ๑ ห้อง ตระเวนไปถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวทุกตรอกซอกซอย ทำกันเอง ออกสตางค์เองทุกบาททุกสตางค์ ส่วนสิงคโปร์กับมาเลเซียนั้น รัฐบาลจ้างบริษัทสำรวจเป็นเรื่องเป็นราวเอาไว้นานแล้ว

คุยนักคุยหนาว่าไทยจะเด่นดังเรื่องการส่งออก สินค้าไทยจะไปสู่มือผู้บริโภคได้ก็ต้องอาศัยการขนส่ง ทว่าไทยไม่มีบริษัทเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ ไม่มีบริษัทคาร์โกที่ขนส่งโดยเครื่องบินโดยเฉพาะ ต่อไปไอ้นี่ละครับ จะเป็นปัญหาของไทย เพราะขณะนี้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อ GDP ของไทยสูงถึง ๑๘% รัฐบาลที่ชาญฉลาดของแท้อย่างมาเลเซียนั้น ขณะนี้มุ่งมั่นลดลงเหลือ ๑๗% ที่เก่งที่สุดเลยก็ต้องยกนิ้วให้สิงคโปร์ ที่ตอนนี้เหลือเพียง ๘% เท่านั้น

๑ มกราคม ๒๕๕๘ เมื่อ AEC บริบูรณ์

รัฐบาลของชาติที่ไม่เก่ง ความด้อยน้อยสติปัญญาและประสิทธิภาพจะทำให้ผู้คนในประเทศของตน ตกงานอีกบานเบอะเยอะแยะ

....และวันนั้น โสเภณีอาจจะเต็มประเทศ!
นิติภูมิ นวรัตน์
[11/11/2553]

http://www.nitipoom.com/th/article1.asp?idOpenSky=3644&ipagenum=
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
"หากไทยไม่เข้าไปศึกษาและลงทุนธุรกิจอย่างจริงจังในลาว ในช่วง 1-2 ปีนี้ เราก็จะไม่มีโอกาสอีกต่อไป"

เพราะว่าจีนกับเวียดนามตอนนี้กำลังรุกอย่างเต็มที่" เป็นคำกล่าวอย่างจริงจังของ ประเสริฐ วงศ์มาลาสิทธิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดนครพนม และเลขาธิการ สภาธุรกิจไทย-ลาว

ในช่วงปี 2551-2552 การลงทุนธุรกิจการค้าในลาวกำลังอยู่ในจังหวะที่เรียกว่า "สุกงอม" เพราะผู้นำของลาวมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน รับการลงทุนการค้าจากชาวต่างชาติ เพื่อพัฒนาให้หลุดพ้นจากความยากจน และลาวได้เข้าร่วมสู่เวทีการค้าระดับพหุพาคีต่างๆ ที่มีกลไกรองรับพร้อมกับมีการปฏิรูปกฎหมายการค้าการลงทุนให้มีความทันสมัยขึ้น

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ลาวพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ความเจริญ เป็นเพราะกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Makong Subregion: GMS) และกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayerawady-ChaoPhraya-Mekong Economic Strategy: ACMECS) เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลาวต้องเร่งพัฒนาให้ทัน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจก่อให้เกิดเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางหมายเลข R3 จากไทย (จังหวัดเชียงราย) ไปเชื่อมโยงไปลาวตอนเหนือ และไปยังจีนตอนใต้และเส้นทางหมายเลข 9 (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยง พม่า-ไทย (จังหวัดตากและมุกดาหาร) ไปลาวตอนกลาง เชื่อมโยงประเทศเวียดนาม ทำให้ลาวเชื่อมโยงไปสู่ประเทศรอบด้านอยู่ท่ามกลางประเทศเศรษฐกิจที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

ทางเหนือของลาวเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ประชากร 1,300 กว่าล้านคน ตะวันตกเป็นประเทศไทย ประชากรกว่า 70 ล้านคน ตะวันออกเป็นเวียดนาม ประชากร 83 ล้านคน และตอนใต้กัมพูชา ประชากร 12 ล้านคน ส่วนประชากรลาว 5.6 ล้านคน

ทำให้ลาวมีตลาดขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรอยตะเข็บบริเวณชายแดน มีประชากรอาศัยไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน ดังนั้น ลาวจึงเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านจาก Land Lock ไปสู่ Land Link จากดินแดนที่ไม่สามารถออกสู่ทะเล ปัจจุบันลาวมีเส้นทางออกทะเล 2 ด้าน ท่าเรือแหลมฉบังของไทย และท่าเรือดานังของเวียดนาม โดยเส้นทางของไทยจะผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 ระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต

วิบูลย์ คูสกุล เอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรไทยประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บอกว่า ไทยมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ติดกับลาว ทำให้เกิดความเป็นต่อ ดังนั้นควรดึงกลไกที่มีอยู่ในปัจจุบันมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

กลไกที่มีอยู่ของไทย คือ การมีสภาธุรกิจไทย-ลาว ที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนไทยและลาว ที่ก่อตั้งขึ้นจากภาครัฐและเอกชน แนะนำกฎระเบียบการลงทุนในลาว รวมถึง วิถีความคิด วัฒนธรรม ถึงแม้ว่าจะมีความใกล้เคียงเรื่องภาษาและวัฒนธรรม แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่ต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะความซื่อตรงของนักธุรกิจที่เข้าไปลงทุน

ส่วนกฎหมายการค้าการลงทุนที่กำลังปรับปรุงของลาว เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาอย่างละเอียด
ธนาคารไทยที่เข้าไปเปิดให้บริการ 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยผู้ประกอบการที่เลือกลงทุนในลาว

กลไกล่าสุด การที่สปป.ลาวได้ร่วมเซ็นบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู (MOU-Memorandum of Understanding) กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้คำปรึกษาและพัฒนาบุคลากร ในการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ในลาวภายใน 2 ปีนี้ ที่จะก่อประโยชน์ให้กับนักธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในลาวในอนาคต ในการสร้างตลาดทุนเป็นทางเลือกใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำโขง แห่งที่ 3 เป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนไทยเช่นกัน เพราะสะพานแห่งนี้จะเชื่อมโยงระหว่างชุมชนบ้านห้อม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย และชุมชนบ้านเวินใต้ สปป.ลาว เริ่มก่อสร้างเดือนกรกฎาคม 2551 ใช้เวลาดำเนินการ 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง มีระยะทาง 780 เมตร จะช่วยทำให้ธุรกิจคึกคัก รวมไปถึงจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้แก่ สกลนคร มุกดาหาร และกาฬสินธุ์

"ไทยมีความได้เปรียบที่มีภูมิศาสตร์ ศาสนา สังคม แต่เปรียบเหมือนดาบสองคม และคิดว่าเป็นของตาย เราต้องรู้เขารู้เรา" วิบูลย์อธิบายหลังจากที่เข้าไปอยู่ในลาว 16 เดือนที่ผ่านมา

หุมเพ็ง สุลาไล Director General Investment Promotion Department the Lao PDR บอกว่า สปป.ลาว ได้เปิดประตูให้ต่างประเทศเข้าไปลงทุนในลาวเริ่มตั้งแต่ปี 2529 เริ่มปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการลงทุน

จุดเด่นของลาว มีความเป็นธรรมชาติ มีแม่น้ำโขง สามารถสร้างเขื่อน สร้างพลังงานไฟฟ้า มีเหมืองแร่เป็นสินค้าส่งออกและมีการท่องเที่ยวที่เน้นในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธรรมชาติ

แต่ธุรกิจประเภทในรูปแบบผู้ประกอบการของลาว ปัจจุบันมีค่อนข้างจำกัด เป็นธุรกิจที่ต้องการคำแนะนำและความรู้เทคโนโลยี

ธุรกิจที่ลาวส่งเสริมให้มีการลงทุนในปัจจุบันมี 7 ประเภท คือ พลังงาน, เหมืองแร่, ธุรกิจเกษตร, ท่องเที่ยว, ก่อสร้าง, อุตสาหกรรมเบา และบริการ

การลงทุนแบ่งออกไปตามเขตพื้นที่ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นเขตทุรกันดาร การเดินทางคมนาคมไม่สะดวก เป็นพื้นที่ได้รับยกเว้นภาษี 7 ปี ส่วนที่ 2 เป็นเขตระหว่างเมืองและชนบท ได้รับยกเว้นภาษี 5 ปี ส่วนเขตที่ 3 เมืองใหญ่ เช่น หลวงพระบาง เวียงจันทน์ ได้รับยกเว้นภาษี 2 ปี

เขตที่ 1 เป็นเขตที่มีพื้นที่มากที่สุดในลาว และครอบคลุมเกือบทั้งประเทศ

การเลือกลงทุนในลาวนอกจากเรียนรู้เรื่องของธุรกิจแล้ว การเรียนรู้วัฒนธรรมและอุปนิสัยคนลาว กลายเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีผลต่อการทำธุรกิจในลาว

"นิสัยคนลาว เป็นคนรักสงบ รักแท้" หุมเพ็งกล่าว ซึ่งเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำ สปป.ลาว ที่มีประสบการณ์ ทำงานมาเป็นระยะ 4 ปี ก็บอกว่า "ลาวเป็นประเทศที่น่าอยู่และผู้คนน่ารัก"

เฉลิมพลบอกว่า ลาวในปัจจุบันเศรษฐกิจดีวันดีคืน มีกฎหมายส่งเสริมการลงทุน การเมืองมีเสถียรภาพ และที่สำคัญ อยู่ระหว่างการขอยื่นเป็นสมาชิก WTO

นอกจากการเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนที่ลาวต้องตั้งรับแล้ว ลาวยังพัฒนาแผนแนวรุกของประเทศเช่นเดียวกัน เช่น โครงการจัดตั้งตลาดค้าส่งและศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) การยกระดับฐานะด่านพรมแดน เป็นช่องทางให้สามารถซื้อขายกันได้ง่ายเพิ่มมากขึ้น

ความได้เปรียบของลาว คือ พลังงานไฟฟ้า และลาวเปรียบเหมือน "แบตเตอรี่เอเชีย" เพราะมีเขื่อนถึง 70 แห่งที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อใช้และจำหน่ายในอีก 5 ปีข้างหน้า และไทยจะกลายเป็นลูกค้าและซื้อไฟจากลาวไปใช้เช่นเดียวกัน และเมื่อถึงตอนนั้นเฉลิมพลคาดว่าลาวจะทำธุรกิจเกินดุลไทยอย่างแน่นอน จากปัจจุบันที่ไทยทำธุรกิจเกินดุลลาวมาหลายสิบปี

จากการเปิดกว้างการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ต่างประเทศจำนวนมากหลั่งไหลเข้าไปในลาว เช่น ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และจีน

เวียดนามและจีนกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทยในการลงทุนในลาว โดยเฉพาะจีนที่ได้รับสัมปทานพัฒนาเมืองใหม่ของเวียงจันทน์ บนเนื้อที่ 60,000 ไร่ มีอายุสัมปทาน 50 ปี ในขณะที่เวียดนามเริ่มนำต้นกล้ายางไปปลูกที่ลาวเป็นจำนวนมาก รวมถึงจีนและเวียดนามนำเสนอเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการขุดเจาะเหมืองแร่ที่เป็นทรัพยากรของลาว ทำให้ลาวมองจีนและเวียดนามว่าเป็นประเทศเพื่อนมิตร ส่วนไทยเป็นประเทศเพื่อนใกล้เรือนเคียง

อาจเป็นเพราะว่าส่วนหนึ่งลาวได้รับทุนการศึกษาจากจีน เวียดนาม และรัสเซีย ไปเรียนหนังสือครั้งละจำนวนมาก ทำให้ได้รับอิทธิพลทางด้านภาษา หรือมีการแต่งงานกันเกิดขึ้น ทำให้บุตรหลานที่กลับมาเริ่มเป็นใหญ่เป็นโตในบ้านเมือง จึงตอบแทนที่ช่วยเหลือสนับสนุนด้านเงินทุน

แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศที่ลงทุนในลาวมากที่สุดในภูมิภาคนี้ มีมูลค่า 57,583.3 ล้านบาท ปี 2549 ก็ตาม แต่จีนและเวียดนามกำลังรุกเข้าธุรกิจลาวอย่างเต็มที่ ชนิดที่เรียกว่า หายใจรดต้นคอ และมีโอกาสแซงในไม่ช้า หากไทยไม่มีแผนธุรกิจใน 1-2 ปีนี้
เราก็จะไม่มีโอกาสอีกต่อไป.
http://www.taradlao.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=taradlaocom&thispage=&No=1378355&WBntype=1

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มีโอกาส ดีๆอีก มาก ใน สปป.ลาว ที่ คนไทย ไม่เคยรู้ สปป.ลาว กำลัง เปลี่ยน ไป .

สิ่งที่เราเองไม่เคยรู้มาก่อนเลย คือ สปป.ลาว เขาเปิดประเทศให้คนไปลงทุน และคนไปลงทุน ใหญ่ที่สุดมากที่สุด คือประเทศไทยนะครับ ไม่น่าเชื่อนะครับ บริษัทในประเทศไทยไปลงทุนเปิดทำเหมืองแร่เหล็กครับ เหล็กเมืองไทยมีแต่เปิดไม่ได้ เพราะเหตุว่ามันน้อย ที่ลาวมีมหาศาล เชื่อไหมครับ เหล็กเมื่อไม่นานนี้ กิโลละ 11 บาท ขึ้น 12 บาทก็บ่นกัน ขึ้นไป 21 บาทร้องกันจ๊ากเลย วันนี้เหล็กกิโลละ 32 ครับ ต่อไปไม่นานนี้นะครับ เราจะซื้อเหล็กจากลาว เราใช้เหล็กปีละ 14 ล้านตันนะครับ เห็นไหมครับทีนี้ก็จะผลิตในลาว บริษัทเดียวกันนี้ได้สัมปทาน เรานึกว่า อลูมินัม มันต้องอยู่ออสเตรเลีย ไม่ใช่นะครับ ในลาวมีแร่ที่จะมาผลิตอลูมินัม ประเทศไทยได้สัมปทานเข้าไปทำ อีกแล้วครับ ที่น่าอิจฉาหน่อย ออสเตรเลียเขามานะครับ เขามาเปิดเหมือง เขาสำรวจมานะครับ ข้างบนเป็นทองคำ ลงไปข้างล่างเป็นทองแดง เหมืองใหญ่นะ ใหญ่ไม่ใหญ่ก็มีคนงาน 20,000 คน เปิดแล้วทำแล้ว แล้วก็มีอยู่ห่างจากแม่น้ำโขง 99 กิโล ก็เรียบร้อยแล้ว เมื่อได้แร่มาแล้ว จะต้องเอาขึ้นใส่คอนเทนเนอร์ลากมา ข้ามฟากมาขึ้นที่... เหมือนจะเป็นวาปี... ไม่ใช่วาปีปทุม... อะไรวาปีนี่แหละครับ อยู่ริมแม่น้ำ เอาขึ้น เอามาถลุงที่ไหนมทราบไหมครับ ถลุงที่มาบตาพุด มันก็ผลประโยชน์ร่วมกันนะครับ ทองแดงเอามาถลุงที่มาบตาพุดของเรานี้ ส่วนทองเอาจจะเอาไปถลุงที่ออสเตรเลีย เขาก็ทำธุรกิจ เราก็ได้ธุรกิจร่วมกัน

ธุรกิจอื่นๆ อย่างบริษัทสำคัญดังๆ ของเรา บริษัททำทางยกระดับบ้านเรา ไปทำเรื่องเขื่อน ที่ลาว ที่เขาเรียกว่า watershed คือเป็นภูเขาแล้วมันเขียวและซับน้ำดี ใส่เขื่อนน้ำงึม ผมเคยไป นั่งริมเขื่อนน้ำงึม นั่งกินข้าว ประเดี๋ยวต้นไม้ผางขึ้นมา ผางขึ้นมา เขามีเรื่องเล่าให้ฟังครับ ว่า พอทำเขื่อนน้ำงึมเสร็จ กะว่า 2 ปีน้ำจะเต็ม คาดผิดครับ เข็มขัดสั้นคาดไม่ถึง 6 เดือนเท่านั้นละครับ น้ำเต็ม ที่จะทำ Routing คือเอาต้นไม้ออก เอาออกไม่ได้ ต้องใช้ระบบ...เอามนุษย์กบดำลงไปเอาเลื่อยไฟฟ้าไปตัด ไปตัดไปทำ Routing ใต้น้ำ เพราะน้ำมาเร็ว นั่นแหละครับ คือ สปป.ลาว ครับ เขื่อนน้ำงึมนะครับ เขื่อนน้ำงึมเสร็จก็มาเปิดน้ำเทิน 1 น้ำเทิน 2 อะไรต่ออะไร ลาวเปิดเอื้อเฟื้อ คุยกันแล้วต้องบอกนะครับ ความมั่นคงของลาวคือความมั่นคงของเรา เราคือไทยนะครับ เพราะว่าเราก็ซื้อ บางทีก็ซื้อจากฝากกะโน้น ฝากกะนี้ เพื่อนบ้านมีทรัพยากรนะครับ ไทยก็เป็นคนที่เรียกว่า บริโภค ใช้เลยนะครับ นี่กำลังซื้อใหม่นะครับ 7,000 เมกกะวัตต์ เวลาลาวทำได้ 100 ลาวใช้ 10-15 นอกนั้นไทยซื้อหมด เอามาใช้ทำร่วมกันนะครับ เพื่อนบ้านก็ได้ประโยชน์ เราก็ยิ่งได้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น 1, 2, 3, 4 เราช่วยเขา ที่ผ่านมาช่วยไปทั้งหมด 5,000 ล้านบาท ไม่มีปัญหาหรอกครับ ไม่ต้องไปซ่อน... ไปตามดูก็ได้ครับ ไม่ได้มีรุงรังพันเตแบบที่นินทาว่ากล่าวกัน ทำสนามบินที่ทางใต้ที่ปากเซ กำลังลงมือนะครับ 320 ล้าน บริษัทไทยก็ได้เหมาได้รับเป็นคนทำ กำลังเจรจาอยู่อีกอันใกล้ๆ เหนือขึ้นมาหน่อยสนามบินอีกนะครับ ช่วยกัน จะได้ใช้ร่วมกับไทย

แล้วก็สะพานนะครับ สมัยก่อน สะพานมิตรภาพมีหนึ่ง รถไฟข้ามฟาก รถไฟข้ามไปแล้ว ตอนนี้เราก็กำลังช่วยทำ...รถไฟข้ามไปแล้วนะครับลงไปที่นาแล้ง 3 กิโลครึ่ง ทางลาวบอกว่า ไปนาแล้งเหลืออีก 9 กิโลกว่าเท่านั้นถึงเวียงจันทน์ได้ไหม บอกได้... อย่างนี้ได้ เราก็บอกเราจะช่วยดูแลให้ ไม่ยากนี่ครับสำหรับประเทศไทย ก็แค่นี้เองนะครับ ถึงเลย ต่อไปนั่งรถไฟถึงเวียงจันทน์เลย ส่วนที่รถไฟอื่นที่ผมจะต่อไปนี้ ผมจะต่อทางอื่น ต่อขนาดรางอื่น จะขึ้นแถวๆ เด่นชัยนี่ ขึ้นไปทางเหนือ ไปเชียงรายออกไปทางสะพานจะข้ามใหม่นี่ พอผมรู้ข่าวผมจะเจรจากับจีนด้วย เพราะจีนกับไทยจะร่วมกันทำสะพาน สะพานที่ 4 จะข้ามที่เชียง ของ ข้ามไปห้วยทรายออกไปหลวงน้ำทา ขึ้นไปข้างบน ขึ้นไปยูนนานและออกไปทางโน้น ขึ้นไปปักกิ่งได้เลย หวังใจว่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งไป ทั้งมา ขนสินค้ากันทางโน้น ตรงนี้ก็ไปเอื้อเฟื้อส่งถึงนครเวียงจันทร์
ที่น่าตื่นเต้นก็คือว่าทางลาวกับไทย แหงนไปดู จีนน่ะกั้นปึกๆ ก็ยังไม่เป็นปกติ ทางลาวก็คิดกับไทยทำอย่างไร กั้นบ้าง ลาวตกลงกับไทยเรียบร้อยแล้ว ทางไทยเรายังไม่เรียบร้อยต้องมาทำกรรมวิธี ต้องผ่านตรงนั้น ตรงนี้ ให้เสร็จก่อน เดือนหน้าผมต้องไปประชุมที่ลาว ผมจะต้องเอารัฐมนตรีต่างประเทศไปเซ็นต์ ทำเขื่อนกั้น ทำระดับ ยกแม่น้ำขึ้นมา 18 เมตร ถอยหลังไป 110 กิโล น้ำจะมากขึ้น ท่านนายกรัฐมนตรีลาว บอกว่า ท่วมลาวเยอะหน่อย ท่วมไทยน้อย แต่ไม่เป็นไร ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ เห็นไหมครับ สองฟากตกลงจะทำเขื่อนกั้นสูง ยกน้ำขึ้นไป 18 เมตรจากธรรมดา 110 กิโลเมตร เห็นไมครับ เรื่องอย่างนี้ข่าวดีนะครับ ใครจะเอิกเกริกอย่างไรก็สุดแท้แต่ กระผมก็ออกข่าวอย่างระมัดระวัง แต่ทางลาวตัดสินใจเรียบร้อยหมด เรียบร้อยแล้ว เอื้อเฟื้อกัน ต่างคนต่างช่วยกันไปช่วยกันมา

สะพานที่จะวางศิลาฤกษ์เร็วๆ นื้ ที่ 1 ที่สะพานมิตรภาพที่หนองคาย ที่ 2 ออกแล้วมุกดาหารไปสะหวันนะเขต สะพานที่ 3 จากฝั่งเรา นครพนมข้ามไปคำม่วนทางโน้น และก็ออกไป จะไปสาย 12 ทางโน้นไปสาย 8 ที สาย 9 ทีและไปสาย 12... สาย 13 วิ่งยาวจากเวียงจันทร์ลงไปปักเซ

สนทนาประสาสมัคร วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อย่าดูถูกลาว เดี๋ยวจะเสียโอกาสเหมือนที่รัสเซีย


วันพุธที่ ๑๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๑



เสาร์ ที่ผ่านมา ผมเดินทางจากชายแดนญวน กลับมาเขียนคอลัมน์ในตัวเมืองแขวงสะหวันนะเขตไม่ทัน มองดูนาฬิกา อา เกือบตีสิบเอ็ด นิติภูมิยังไม่ได้เขียนหนังสือเลยซักตัว ผมจึงต้องหยิบปากกาเขียนตัวอักษรใส่กระดาษกันที่บ้านริมข้างทางถนน เร่งรีบไปหน่อยจึงเขียนเมืองมะละแหม่งว่าอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง ข้อเท็จจริงไม่ใช่ครับ มะละแหม่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญของพม่า ส่วนเมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง คือเมืองปะนัน ขอขอบพระคุณผู้อ่านท่านที่อีเมล์มากวดแก้ให้นิติภูมิในมื้อนี้



ลาว เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อ พ.ศ.2540 ขณะนี้นักกฎหมายของลาวกำลังขะมักขะเม้นร่างกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เข้ารูปเข้ารอย ขณะนี้ลาวอยู่ในขั้นตอนยื่นขอเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ในอดีตที่ผ่านมา คนไทยที่เข้าไปลงทึนในลาวอาจจะเข็ดแข้วกับความไม่แน่นอนของกฎหมาย หม่อๆ นี้ หลังจากที่ลาวเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้ว ผมเชื่อว่าการค้าการลงทุนที่นั่นจะมั่นคงและเป็นสากล



นักการ เมืองในรัฐบาลบางคนตาส่อนมองข้ามลาว อาจจะเป็นเพราะเชื่อตัวเลขของหน่วยราชการว่าลาวนำสินค้าเข้าจากไทยเพียงปีละ 4-5หมื่นล้านบาท (พ.ศ.2549 นำเข้า 38,654.9 ล้านบาท) ขอเรียนนะครับ ว่านั่นบ่แม่นตัวเลขที่แท้จริง เพราะการค้าระหว่างลาวกับไทยมี 2 อย่าง คือ การค้าในระบบที่เข้าออกตามชายแดนซึ่งต้องผ่านพิธีศุลกากร และการค้านอกระบบ ที่ลักลอบค้าขายโดยบ่ได้ผ่านด่านศุลกากร



ลาว กับไทยมีพรมแดนติดต่อกันยาวถึง 1,810 กม. เขตการปกครองของไทยติดกับพรมแดนลาวตั้ง 11 จังหวัด มีช่องทางการค้า 36 แห่ง เป็นจุดผ่านแดนถาวร 13 แห่ง จุดผ่อนปรน 21 แห่ง และจุดผ่านแดนชั่วคราว 2 แห่ง แต่ช่องผ่านแดนธรรมชาติที่ชาวบ้านของทั้งสองประเทศเดินทางเข้าออกมีมากตั้ง 700 ช่อง ลุงคำหล้า ป้าชู เอื้อยหนู อ้ายบุนพัน แม่ขาวจัน นายบ้านคำเฟือน ฯลฯ ท่านเหล่านี้เดินผ่านไทยลาวเข้าออกซื้อขายสินค้าไปบริโภค มีศุลกากรคนไหนไปนั่งนับมูลค่าการค้าบ้างครับ



นักการ เมืองของไทยมัวแต่ไปเอาใจประเทศร่ำรวย เมินประเทศที่ทุกยาก แต่ผมอยากจะขออนุญาตให้ข้อสังเกตนะครับว่า ผ้าฮ้ายห่อคำ ประเทศร่ำรวยมักไม่ทำตนหรูหรา ลาวขณะนี้เป็นเหมือนเศรษฐีบ้านนอก ผู้มีที่ดินเยอะ ทรัพยากรแยะ มีแต่ลูกสาว แต่จำนวนลูกชายที่จะใช้พัฒนาประเทศมีน้อย ภายภาคหน้าลูกสาวแต่งงาน ลูกเขยเต็มบ้านช่วยกันพัฒนาทำมาหากิน ภายต่อมาก็เป็นประเทศร่ำรวยได้



เหมือน กับตอนที่โซเวียตแตกใหม่ๆ ก็โดนคนไทยจำนวนหนึ่งดูถูก แม้แต่สถานทูตไทยในกรุงมอสโกตอน พ.ศ.2534-2538 ยังให้คนรัสเซียไปยืนตากหิมะรอวีซ่ากันทีละหลายชั่วโมง แถมพูดจาดูแคลนคนรัสเซียอย่างมาก อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัสเซียไปขอวีซ่า ไอ้ตาถั่วยังกล่าวหาว่าท่านเป็นโสเภณี ไอ้พวกอุดอู้อยู่แต่ในรู ไปรับราชการที่รัสเซียก็จริง แต่บ่เคยฮู้ดอกหรอกว่า รัสเซียน่ะกว้างใหญ่มหาศาล มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะ สมควรที่จะคบค้าสมาคมไว้และต้องให้เกียรติกันพอสมควร

ต่อ มา เมื่อรัสเซียขุดทรัพยากรธรรมชาติขายได้ จึงกลายเป็นชาติร่ำรวยภายในเวลา 15 ปี เดี๋ยวนี้ คนรัสเซียที่มีเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 32,000 ล้านบาท นิตยสารฟอร์บไม่จัดให้ติดอันดับทำเนียบเศรษฐีของรัสเซียแล้วนะครับ คุณแสงดารา คำวานวงสา มหาบัณฑิตชาวลาวจากมหาวิทยาลัยทาชเคนต์ ซึ่งเดินทางมาลาวคราวนี้กับผมด้วย เล่าว่า ลูกค้ารัสเซียคนสุดท้ายของเธอซึ่งเข้าไปซื้ออัญมณีที่ร้านเจมส์ในพัทยา เป็นสตรีสาวชาวนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซื้อพลอยครั้งเดียวมูลค่า 9 ล้านบาท ย้อนหลังไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว สุภาพสตรีพวกนี้นี่แหละครับ ที่ไอ้ขี้กะตืกตาถั่วแต้มสีว่าพวกเธอเป็นโสเภณี ไอ้คันคากตาสั้นพวกนี้นี่เบิ่งข้างหน้าบ่เห็น ใครจน ข้ากีดกันไว้ก่อน
สมัย รัสเซียยังจน เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำกรุงมอสโกทำงานขยันขันแข็ง รายงานรัฐบาลของตนว่า ภูมิภาคไซบีเรียของรัสเซียมีป่าไม้มาก นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ดร.มหฎิร มุฮัมหมัด จึงบินไปเยือนไซบีเรีย ต่อมา นักธุรกิจมาเลย์ได้สัมปทานทรัพยากรป่าไม้ในไซบีเรียกันมาก นำเงินเข้ามาเลเซียได้บานเบอะเยอะแยะ ขณะที่นักธุรกิจไทยได้ยินแต่คำเว้าว่า “รัสเซียจนๆๆ” จากไอ้ขี้ทูตจังไฮคนที่ว่าเหมือน กัน วันนี้ พอรู้ว่านิติภูมิเข้าไปรับใช้ในลาว ไอ้ขี้โก๊ะลูกหลอดพวกเดิมก็ออกข่าวเว้าทำนองดูแคลน ว่าประเทศอื่นมีเยอะแยะทำไมไม่ไปซ่อยซู เอาอีกแล้ว เมื่อ 15 ปีก่อน ไอ้ผีตาแหกคนนี้นี่ทำลายโอกาสของคนไทยในรัสเซียจนมะหับมะหายไปครั้งหนึ่ง แล้ว คราวนี้โผล่หน้าอ้าปากมาทำลายโอกาสของไทยในเพื่อนบ้านใกล้กันอีก

นิติ ภูมิอยากชวนคนไทยให้เข้าไปลงทึนในลาว และให้คิดอย่างมั่นคงว่าไทยกับลาวนั้นเกิ่งกัน รักกัน แม้ว่าวันนี้ คนลาวอาจจะมักคนญวนมากกว่าคนไทย แต่ในอนาคต เราทั้ง 10 ชาติในอาซีอาคะเนจะต้องสังลวมตัวช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
[11/6/2551]

ร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิ นวรัตน์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขนหนาวแตกในสะหวันนะเขต (1)


วันจันทร์ที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๑


วันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมและคณะเข้าพบ ดร.สุพัน แก้วมีไซ ดุษฎีบัณฑิตทางเศรษฐศาสตร์ และผู้ผ่านหลักสูตร AOH อาโอน จากกรุงมอสโก ซึ่งปัจจุบันเป็นรองผู้ว่าแขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

คณะ ของผมที่ว่าก็มีนายติมูร์ เยดีคานอฟ นักธุรกิจการขนส่งจากเมืองสเตอร์ลีตามัค สาธารณรัฐปกครองตนเองบัชคอร์โตสถาน นางแสงดารา บุตรีอดีตรัฐมนตรีลาว ฯพณฯ สอน คำวานวงสา มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยทาชเคนต์ สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน นายสีนวน ซุมพนภักดี มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมอสโก นายคำเกียน ไซปันยา เภสัชกรผู้จบการศึกษาจากเวียดนาม จีน และโซเวียต ส่วนคนสุดท้ายผู้เป็นบักหล้า คือ นิติภูมิ นวรัตน์



พบรองเจ้าแขวง ดร.สุพัน ประชุมกันเสร็จแล้ว พวกผมก็นั่งลด (รถยนต์) ตระเวนจากริมแม่ของ (แม่น้ำโขง) ไปตามทางหลวงหมายเลข 9 ผ่านตาแสง (ตำบล) เมือง (อำเภอ) ต่างๆ ของแขวงสะหวันนะเขต ระยะทาง 250 กม. ไปยังบ้านแดน-สะหวัน เมืองเซโปน ซึ่งติดชายแดนเวียดนามที่ด่านลาวบาว อำเภอดงห่า จังหวัดกว่างจิ ระหว่างทางผมและคณะซอนไซไปลึกตามถนนสองข้างทาง ทั้งแคมฝั่ง ทั้งฮ่อมภู ของตาแสงสำคัญต่างๆ ก็สำรวจ

สิ่ง ที่ผมต้องการดูคือ สะพาบพูมสาด (สภาพภูมิศาสตร์) ของแขวงสะหวันนะเขต ของอย่างนี้ต้องไปดูด้วยตาตัวเอง เฮียน ฮู้บ่ท่อบดเฮียน (เรียนรู้ไม่เท่าประสบการณ์) ต้องมีบดเฮียนก่อนที่จะมาให้คำคิดคำเห็นรับใช้ท่านผู้อ่าน
มา แขวงสะหวันนะเขตมื้อนี้ ข้อยเห็นการลงทุนของสหรัฐฯ ออสเตรเลีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ รัสเซีย อินเดีย ฝรั่งเศส ฯลฯ มีมากมาย เห็นแล้วถึงขนาดขนหนาวแตก (ขนลุก) คำเว้าของข้อยนิติภูมินี่ยังน้อยเกินไป เพราะการลงทุนจากต่างประเทศนั้น ซะซาย ไปทั้งแขวง และเท่าที่ทราบ ซะซายไปทั้ง 17 แขวง และอีก 1 เขตการปกครองพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นที่แขวงบ่อแก้ว คำม่วน เซกอง อัตปือ หัวฟัน พงสาลี ฯลฯ

ผมได้เข้าไปสถานที่ก่อสร้างกาสิโนและโรงแรมขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า สะหวันเวกัส Savan Vegas ที่อยู่ห่างจากแคมฝั่งแม่ของ (ริมฝั่งแม่นํ้าโขง) เพียง 7 กม. จะเปิดให้คนไทย เอ๊ย นักท่องเที่ยวเข้าไปใช้บริการ สะหวันเวกัสเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ของบริษัทอเมริกันและมาเก๊า เป็นแหล่งการพนันและบันเทิงบอระบวน (ครบถ้วน) ทั้งโฮงแฮม ทั้งร้านกินดื่ม ข้อยนิติภูมิสนทนากับนายเจอร์รี โรดส์ ผู้ควบคุมโครงการชาวอเมริกัน นายเจอร์รีเล่าว่า บริษัทของแกกำลังจะขยายกิจการกาสิโนและเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ เฮียงกันไปอีกหลายเมืองสำคัญ เพื่อรองรับความเจริญอย่างมโหฬารที่จะมาจาก EWEC ซึ่งเป็นโครงการที่จะเชื่อม 4 ประเทศในกลุ่ม GMS เข้าด้วยกัน คือ พม่า ไทย ลาว และเวียดนาม

ผู้ อ่านท่านที่เคารพ ในอนาคตอันใกล้ จะมีทางถนนเชื่อมจากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกที่จังหวัดดานังของเวียดนาม เข้ามายังแขวงสะหวันนะเขตของ สปป.ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2ซึ่ง ข้ามมาประเทศไทย ที่จังหวัดมุกดาหาร ผ่านเข้าขอนแก่น ตาก ไปสิ้นสุดที่เมืองมะละแหม่งในรัฐกะเหรี่ยงของพม่า ทะลุถึงฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

เส้นทางสาย EWEC มีความยาวรวม 1,500 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 วัน ตอนนี้สร้างเสร็จและสะดวกสบายเกือบตลอดสายแล้ว เหลือเพียงทางฝั่งพม่าอีกนิดหน่อยเท่านั้น

ข้อย ขอกลับมาบัวระบัดให้บอระบวน (รับใช้ให้ครบถ้วน) แบบลงเลิก (ลงลึก) ในมื้ออื่น (ในวันพรุ่งนี้) เพื่อท่านผู้อ่านสนใจจะไปลงทึน (ลงทุน) ในลาวกันเด้อ.

ร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิ นวรัตน์
[9/6/2551]
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


ขนหนาวแตกในสะหวันนะเขต (2)

วันอังคารที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๑


เสียง แสดงความพอใจอุบัติเบาๆ เมื่อพวกเรารู้ข่าวนางคลินตัน หยุดหาเสียงและประกาศสนับสนุน นายโอบามา เป็นตัวแทนพรรคเด็มโมแครตไปชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลูกแหล่งคนหนึ่งซึ่งตามผมมาที่แขวงสะหวันนะเขตด้วยเว้าว่า ถ้าคนในประเทศไทยบางกลุ่มรู้แพ้รู้ชนะเหมือนนางคลินตันบ้าง ก็จะทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองสงบเรียบร้อยไปอีกเยอะนะครับ แพ้ก็ให้รู้ว่าแพ้ รออีก 4 ปี ทำความดีเพื่อว่าจะมีโอกาสกลับมาชนะบ้าง ไม่ใช่ชุมนุมสุมหัวตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จ ปั้นเรื่องให้ผู้คนประเทศเกิดความแตกแยกอย่างทุกวันนี้


เช้า ตรู่วันอาทิตย์ที่ผ่านมา ตื่นนอนปุ๊บ ผมก็ต้องออกมาที่ห้องอาหารเพื่อต้อนรับ ฯพณฯ ดร.สีลา มุนทะละวง รองประธานองค์การท่องเที่ยวแห่งชาติของลาว ตำแหน่งของท่านเท่ารองรัฐมนตรีทบวง ดร.สีลาเป็นอีกท่านหนึ่งซึ่ง มีความรู้ดีมาก พูดได้ดีทั้งฝรั่งเศสและรัสเซีย สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีและโท จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐที่เมืองรอสตอฟ และปริญญาเอกจาก สภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์สังคมของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ท่านเดินทางมาเช้านี้ มีประสงค์หนึ่งก็คืออยากชวนนิติภูมิให้เดินทางไปชมสถานที่ท่องเที่ยว สำคัญตามแขวงต่างๆของลาวหลวงหลาย


โลมให้ ดร.สีลาฟังว่า เมื่อวานผมตระเวนไปตามทางหลวงหมายเลข 9 ได้เข้าไปเยี่ยมเยียนโรงงานเม็ดพลาสติกของคนญวนซึ่งกำลังก่อสร้าง ที่นี่ใช้คนงานญวนมาก่อสร้างทั้งหมด ถัดจากนั้น ไม่กี่กิโลเมตร ก็เข้าไปเยี่ยมเยียนโรงงาน ผลิตยางล้อรถของคนจีนซึ่งใช้แรงงานจีน บอระบวนเหมือนกัน หลังจากเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานที่กำลัง ก่อสร้าง+โสกับบรรดาผู้บริหารเขตเศรษฐกิจ พิเศษหลายแห่ง เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน โครงการเมืองสะหวัน ฯลฯ ทราบว่า คำเว้าของท่านเหล่านี้เว้าเถิงแขวงสะหวันนะเขตต้องการคนงาน ภาคบริการที่เว้าภาษาอังกฤษได้ มีความรู้การทำอาหาร การโรงแรม การธนาคาร การบัญชี ฯลฯ รวมแล้วไม่ตํ่ากว่า 15,000 ตำแหน่ง


แต่ผู้อ่านท่านครับ ลาวทั้งประเทศมีพลเมืองเพียง 5.7 ล้าน ในแขวงสะหวันนะเขตมีประชากรอาศัย 8 แสน คนส่วนใหญ่เป็นลาวลุ่ม ไทดำ กะเลิง กะตัง ลาเว้ ปาโก ฯลฯ ผมเข้าไปในป่าที่ห่างจากทางถนนหลวงหมายเลข 9 ลึกเข้าไปไม่ถึง 10 กม. เข้าไปเจอชาวบ้านที่พูดภาษาลาวไม่ได้ซะแล้ว พูดเป็นแต่ภาษาเชื้อของตัวเอง ผมจึงเข้าใจนะครับว่า ยังมีคนลาวอีกเป็นจำนวนมาก ที่พูดภาษาลาวบ่ได้

ความจริงพรวดเข้าในพื้นที่สองหมื่นตารางกิโลเมตรของแขวงสะหวันนะเขตอย่างเฮ็วฮีบ เป็นตาย่านว่าคนสะหวันนะเขต 1,013หมู่ บ้านจะบ่ได้อะไร หากบ่มีการพัฒนาคนท้องถิ่นรองรับ ผมได้โสกับผู้ใหญ่หลายท่านทางฝั่งนั้น ท่านอยากให้ผมฮับคำว่าจะเปิดสอนภาษาและวิชาชีพให้เยาวชนลาวในสะหวันนะเขต หากไม่เช่นนั้น ก็จะต้องอิมพอร์ตแรงงานญวนและจีนเข้ามา ซึ่งสุดท้าย คนลาวก็จะบ่ได้อะไรคัดแน่

ลาวเป็นชาติอาซีอาคะเนที่อ้อมข้างด้วยคลื่นมนุษย์ ผู้อ่านท่านลองลากสายตาไปบนแผนที่ซี ลาวอยู่อ้อมแอ้มเวียดนามที่มีประชากร 85ล้าน อ้อมแอ้มไทยที่มีพลเมือง 65ล้าน ด้านบนก็อ้อมแอ้มจีนที่มีคนถึง 1,500ล้าน หากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเข้าเจ้าไม่มีประสิทธิภาพ แรงงานต่างชาติก็จะเฟือดเข้ามาเฮ็ดเวียก


เลี้ยวเข้าไปทางซ้ายของทางหลวงหมายเลข 9 ผมขับรถไปตามทางสองหลีกแถวตีนภูเขาเข้าไปได้สักประมาณ 40 กม. ได้เห็นเหมืองแร่ทองคำและทองแดงของฝรั่ง แขวงสะหวันนะเขตเป็นแหล่งบ่อแฮ่ที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก แต่ละปีเหมืองเบื้องหน้าที่ผมเห็นนี้เฮ็ดทองคำได้ 5-6 ตันและทองแดงได้ 6 หมื่นตัน ผมเห็นรถยนต์ญวนขนแร่ยิปซัมออกไปชายแดนอยู่ตลอดเวลา ทุกปีญวนจะขนแร่ยิปซัมออกไปได้ประมาณ 2 แสนตัน รถขนแร่พวกนี้มีแต่มุ่งหน้าไปทางตะวันออกเข้าเวียดนาม มีน้อยคันมากที่จะมุ่งหน้ามาทางตะวันตก เข้ามาที่ประเทศไทย อะไรเกิดขึ้นกับนโยบายการเข้าไปร่วมพัฒนาทรัพยากรกับเพื่อนบ้านของไทยครับ

อยากเรียนผู้อ่านท่านที่เคารพว่า ลาวได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า MFN จากสหรัฐฯ และได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากร GSP จากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

แถมยังได้รับสถานะ Normal Trade Ralations หรือ NTR จากสหรัฐอเมริกา สิ่งทอไหมของลาวที่ส่งออกไปสหรัฐฯ มีภาษีลดลงจาก 90% เหลือ 0.8% สินค้าหัตถกรรมจาก 45-60% เหลือ 0%

ผม อยากซุกยู้ให้คนไทยเข้าไปลงทึนในลาว โดยเฉพาะในแขวงสะหวันนะเขต แต่ขอให้ไปอย่างมีความรู้เรื่องการลงทึน อย่าไปขี้โย่ยเชื่อข่าวที่เล่าขานกันอย่างนอกฮีดนอกฮอย ทางที่ดีไปติดต่อกับหน่วยงานราชการของลาวเซิ่งหน้าเลยจะดีกว่า

ไปลงทึนที่อื่น ท่านต้องใช้ภาษาใหม่ แต่ลงทึนที่ลาว ท่านบ่ต้องเรียนภาษาใหม่ให้เสียเวลา แม่นบ่?

ร้อยตำรวจเอก ดร. นิติภูมิ นวรัตน์
[10/6/2551]

No comments:

Post a Comment